Tuesday, March 20, 2007

สถาปัตยกรรมในยุคข่าวสารข้อมูล

สถาปัตยกรรมในยุคข่าวสารข้อมูล
(Architecture of the Information Age)
โดย Anthony Catsimatides
1/28/99
เรียบเรียงจาก...http://www.plannet.com/features/informationage1.html

บทนำ

สังคมอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ สถาปนิกและนักออกแบบถูกบังคับให้ต้องอยู่เหนือข่าวสารข้อมูลที่กระจายรอบตัวพวกเขา ไม่ว่าอุตสากรรมที่พัฒนาใหม่ หรือเศรษฐกิจที่ต้องเปลี่ยนแนวทาง อัตราความเร็วการเข้าถึงข้อมูลเป็นความก้าวหน้าของเรา เป็นความก้าวหน้าที่เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมา นับจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมและยุคของเครื่องจักรกลในการผลิต ถึงการปฏิวัติคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นเร็วๆนี้ ความก้าวหน้าที่เป็นไปตามธรรมชาติเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ท้าทายการรับรู้และความคิดฝันของเรา อัตราความเร็วในความก้าวหน้านี้ เร่งการออกแบบที่สัมพันธ์กับความรู้สึกในการรับรู้ของเราโดยธรรมชาติ ดังนั้นอัตราความเร็วที่เร่งเร้านี้จะเป็นมาตรวัดการมองจากภายนอกเข้าสู่ภายใน

การติดต่อสื่อสารและเทคโนโลยีเราสื่อสารถึงกันและกันข้ามโลกเพียงชั่วอึดใจหนึ่ง การเข้าถึงข้อมูลชั่วกระพริบตานี้เกิดขึ้นทุกส่วนของโลก มีผลต่อบทบาทและวิธีคิดของสถาปนิก จากการออกแบบอาคารถึงการวางผังเมือง การเข้าถึงข้อมูลอย่างรวดเร็วทำให้ความต้องการผลที่รวดเร็วเช่นกัน ฉะนั้นความเร็วที่สถาปนิกออกแบบและผู้รับเหมาก่อสร้างอาคาร ทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงหลักของการออกแบบด้วย ผลทางเศรษฐกิจต้องการอาคารที่สร้างได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น วิธีการก่อสร้างและวิทยาการอาคารจึงเป็นเรื่องของความท้าทายที่น่าสะพึงกลัวอย่างยิ่ง

การเปลี่ยนแปลงทางวิทยาการเพิ่มพูนขึ้นมากมาย แต่มีการพิจารณาและเห็นความแตกต่างได้เพียงเล็กน้อย ตัวอย่างเช่น วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดคอมพิวเตอร์ใช้กันในบ้าน เป็นเพียงความแตกต่างที่แค่ชี้ให้เห็นการพัฒนาที่รวดเร็วและต่อเนื่องเท่านั้น แต่ไม่เปลี่ยนในแง่ที่ยังสาละวนที่หน่วยความเร็วและความจุเพื่อผลิตสื่อกลางเพิ่มให้กับสังคม สื่อครบเครื่อง(ทั้งภาพและเสียง)นี้ มีบทบาทสำคัญในสังคมของเราและทุกสิ่งที่เราทำก็ได้รับผลกระทบจากมัน ระบบความคิดของเราเปลี่ยนแปลงไปเพราะวิธีการรับรู้ข้อมูลสร้างผลกระทบให้จำเป็นต้องเปลี่ยน ผลกระทบนี้แม้ยากที่จะวัดได้แต่ก็มีผลปรากฏ ในทฤษฎีและการปฏิบัติทางสถาปัตยกรรมทุกวันนี้ มุ่งไปที่การสะท้อนรวมเอาความคิดฝันที่เกี่ยวข้องกับความเร็วในการรับข่าวสารข้อมูลในยุคนี้ สถาปัตยกรรมกำลังได้รับการพิจารณา เพราะอยู่ในอาการเปลี่ยนแปลง ผันแปร และไหลบ่าของข้อมูลด้วยอัตราที่รวดเร็ว หลักกำหนดนี้ต้องถือเอาเป็นบรรทัดฐานความก้าวหน้าของทฤษฎีและการปฏิบัติทางสถาปัตยกรรมในสมัยนี้

วัฒนธรรมทางความคิดและการออกแบบของอาคาร เปลี่ยนไป ในทางยอมรับกฏเกณฑ์ของวิทยาการปัจจุบันนี้ เกื่อบทุกกิจกรรมมีการเปลี่ยนแปลง เพราะวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ เหมือนช่วงเวลาที่เกิดวิทยาการโทรศัพท์และการสื่อสารที่กำหนดรูปแบบสังคมในราว ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา วันนี้ อินเทอร์เนท เปลี่ยนวิธีการสื่อสารอย่างเห็นได้ชัด สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของเรา สถาปัตยกรรมถูกชี้นำและมีผลทางความคิดในวิทยาการที่เกิดขึ้นเหล่านี้

ยุคทันสมัยได้ชะล้างรสเดิมๆออกไปแล้ว ด้วยการยอมรับสถาปัตยกรรมที่ราบเรียบ ไม่มีแบบสมัยเฉพาะ กำหนดความจำเป็นการอยู่อาศัยแบบกลุ่มและมีราคาถูก มีผลในการกำหนดมาตรฐานใหม่ในการก่อสร้าง ในบทความ "Learning from Las Vegas", Venturi และ Brown ยกย่องการริเริ่มนี้ของนักทันสมัย แต่ก็ประณามการคงไว้ที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

โทรทัศน์กลายเป็นสื่อทางอีเล็คโทรนิคที่แพร่หลาย เปลี่ยนแปลงสังคมในวิธีการและทรรศนะที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ข่าวสารข้อมูล เรื่องของอินเทอร์เนทในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับที่โทรทัศน์เคยทำมาแล้ว ด้วยการเพิ่มมิติของการปฏิสัมพันธ์กันและกันมากยิ่งขึ้น มันไม่หยุดนิ่ง มีความเป็นส่วนตัว เสกสรรปั้นแต่ง เพ้อฝัน เปิดเผย บีบบังคับ หลากหลาย ขัดแย้ง ซับซ้อน ชวนให้ไหลหลง และอื่นๆมากมายรวมกัน มันเป็นทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขของมนุษย์ สถาปัตยกรรมถูกผูกเข้ากับยุคข้อมูลทางอีเล็คโทรนิคนี้ ส่วนสถาปนิกจะต้องรับมันไว้หรือจำเป็นต้องยอมถูกกลืนไปกับวิทยาการที่ค้นหาความเป็นอิสระของมนุษย์เหล่านี้

William J. Mitchell เขียนในหนังสือ City of Bits: Place, Space and the Infobahn, กำหนดไว้ในทุกความคิดเห็นของสภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น และเราจะรับรู้ความสมานกันในความซับซ้อน อันไม่มีสิ้นสุดในการสื่อสารที่ผ่านสื่อกลางใหม่นี้ สถานที่ในที่ว่างหรือเทศะที่แตกต่างกันในรูปแบบเหมือนหน่วยอีเล็คโทรนิคที่หลากหลาย สถานที่ เทศะหรือที่ว่าง และสายธารข้อมูล สามารถผสมผสานกันในวิธีการที่แปลกแยกและหลากหลายได้ อย่างมากมาย

ความคิดสถาปัตยกรรมบนทางเลี้ยวแห่งศตวรรษ

เรียบเรียงจาก...http://www.plannet.com/features/turnofcenturyarch.html
ความคิดสถาปัตยกรรมบนทางเลี้ยวแห่งศตวรรษ
วิทยาการ& รูปทรง
โดย Anthony Catsimatides
6/06/99


สถาปัตยกรรมบนทางเลี้ยวแห่งศตวรรษเราอยู่ในยุคของข่าวสารข้อมูล ชาวอเมริกันเรียนรู้อะไรมากขึ้น จากการอัดฉีดของสื่อทางโทรทัศน์ ภาพที่เราเห็นกลายเป็นการสร้างเสริมสัญญาณของโลกรอบตัวเราบนการปรุงแต่งสัญญลักษณ์และจินตภาพที่เรากำหนดแล้วกำหนดอีกตลอดช่วงเวลาแห่งศตวรรษที่ ๒๐ นี้ สถาปัตยกรรมบนทางเลี้ยวของศตวรรษที่ ๒๑ ถูกผสมและเสริมแต่งด้วยวิทยาการใหม่ๆ ความคิด รูปแบบ และรูปทรงของการจินตนาการ บนโวหารที่ล้นออกมาเป็นละลอกของการออกแบบที่มีเค้าโครงบ่อยครั้งที่พยายามเสนอบทวิเคราะห์ทางทฤษฎีมากกว่าทางการปฏิบัติ นี่เป็นความจริงในการออกแบบเครื่องเรือนในระยะแรกที่นักออกแบบของยุคทันสมัย เช่น Gerrit Rietveld และเป็นการยืนยันตอกย้ำให้เห็นจริงโดยการออกแบบเครื่องเรือนที่ทำด้วยแผ่นกระดาษของ Frank Gehry



เก้าอี้ออกแบบโดย Gerrit Rietveld 1918 และของ Frank Gehry 1973





สิ่งที่บ่งชี้ความแตกต่างของสถาปัตยกรรมปัจจุบัน ทั้งของสถาปนิกและนักออกแบบที่เอาชนะความเห็นที่เคยเป็นความเหลวไหลในทางปฏิบัติของคนยุคก่อนๆ เราได้ข้ามพ้นเลยอาณาจักร์ของเส้นตรงและปรับตัวเองในทัศนะวิสัยของรูปทรงที่เร่งเร้าความรู้สึกและสนุกสนานมากขึ้น การกระตุ้นทางทัศนะวิสัยนี้ยังคงแผ่ซ่านอยู่จนกระทั่งเดี๋ยวนี้



Daniel Libeskind, Jewish museum, Berlin 1999



แต่ละยุคของสถาปนิกและนักผังเมือง ต้องปรับแต่งสถาปัตยกรรมตามสมัย แต่ละสมัย สถาปัตยกรรมจะถูกปรับแต่งใหม่ ด้วยความหมายใหม่ที่วางบนรากฐานและบทบัญญัติของการออกแบบ หลายปีที่ผ่านมานี้ สถาปนิกฟันฝ่าไปสู่ความสำเร็จทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกภาพ ปลดเปลื้องประโยชน์ทางวัฒนธรรมโดยนัยยะและปกป้องความชอบธรรมของประชาชนไว้ได้ ด้วยเวลาที่ผ่านไปไม่มาก ก่อนที่กลุ่มใหม่จะขบฏต่อต้านเจตนาเหล่านี้ แล้วปรับปรุงเปลี่ยนแปรภาษาใหม่ๆโดยมีฐานของหลักการเดิมผูกติดเอาวัฒนธรรมตะวันตกไว้ แน่นนอนสิ่งที่กำลังกล่าวถึงนี้ คือกระแสความคิดสองกระแสของสถาปัตยกรรมในศตวรรษที่ ๒๐ คือ ความทันสมัย- Modernism และความหลังทันสมัย-Post-Modernism


ความล้นเหลือทางข้อมูล ไม่เป็นที่สงสัยเลยที่การสร้างงานในทุกวันนี้ อยู่บนแนวทางที่กักไว้ด้วยข้อมูลที่ล้นเหลือและมากล้น ข้อมูลที่มากมายนี้ เป็นไปไม่ได้ที่จะรับไว้ได้หมด และยากที่จะถอดระหัสของสิ่งที่ดีออกจากสิ่งที่เลว ความมีคุณค่าจากความไร้ค่า Buckminster Fuller ตระหนักถึงเรื่องนี้ในระยะแรกของศตวรรษที่ ๒๐ มากกว่าคนอื่นในยุคของเขา ในประเด็นที่ว่า สถาปัตยกรรมเป็นผลพลอยได้ของการตรวจค้นทางวิทยาศาสตร์ของโลกทางกายภาพที่อยู่รอบตัวเราเอง


Buckminster Fuller, Tensegrity



ศตวรรษที่ ๒๐ เริ่มต้นมากกว่าการคิดค้นทางวิทยาศาตร์ในขอบเขตของสถาปัตยกรรม เป็นการปั้นแต่งทางศิลปะ ที่จับเอาจินตนาการของสถาปนิกในการแปรรูปเมืองของเราให้กลายเป็นฝักถั่วยักษ์ที่เรารู้จักกันในวันนี้ Le Corbusier และ Frank Lloyd Wright สร้างทัศนะศิลป์เหล่านี้ผ่านทางความเป็นอัจฉริยะของเขา ทั้งสองคนนำใครๆให้ตามได้มากกว่า Buckminster Fuller หรือสถาปนิกอื่นที่มีจิตใจเป็นวิทยาศาสตร์ ผู้ซึ่งต่อสู้เพื่อสิ่งใหม่ที่ใหญ่ยิ่งในการออกแบบ การฉาบทาและปั้นแต่งด้วยศิลปะยังเป็นข่าวพาดหัวของสิ่งพิมพ์ ของสถาปัตยกรรมและการออกแบบ


มาตรวัดของข้อมูลข้อมูลและความรู้เป็นสินค้าในปัจจุบันมีค่าดังทองคำในสมัยพันปีที่แล้วมา ค่าของข้อมูลในแต่ละสังคมถูกวัดจากคุณค่าโดยเนื้อหาของมัน บ่อยครั้งที่อาจพูดได้ว่า นักบริหารตำแหน่งสูงของบรรษัทต่างๆนั้น มักเป็นผู้ครอบครองข้อมูลและใช้มันเป็นนั้น "เป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน" ของผู้ร่วมงานอื่นๆ แต่ในช่วงหลังของศตวรรษที่ ๒๐ ดูเหมือนจะเปลี่ยนไปแล้ว ข้อมูลเดี๋ยวนี้เป็นของที่แจกจ่ายให้ฟรีๆทั่วไป ดังนั้นคุณค่าในเนื้อหาของมัน ต้องวัดด้วยเกณฑ์ที่กวดขันมากขึ้น มันไม่ใช่สิ่งที่เรารู้ แต่เป็นสิ่งที่เราใช้มันหรือครอบงำกิจกรรมต่างๆของเรา

ดังนั้นในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรม บนหนทางของข่าวสารข้อมูล โวหารเก่าและที่ผ่านไปแล้ว แต่อาจยังเหมาะสม ยังมีส่วนปลีกย่อยที่อาจถูกใช้โดยนักออกแบบ เป็นส่วนหนึ่งของการรู้แจ้งในทางสังคมและส่วนบุคคลได้ ใช้ได้ในการกำหนดรายละเอียดวัสดุของอาคาร ใช้อ่านบันทึกของอดีต เป็นข้อมูลทางเทศบัญญัติและระเบียบการ และใช้ตรวจสอบเงื่อนไขของความต้องการต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถพบว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญ เป็นเครือข่ายโยงใยที่กว้างขวางของโลก- the World Wide Web.

ข้อมูลทุกวันนี้ ใช้เป็นเช่นไฟส่องทางที่สถาปนิกท่องไปในน้ำที่เต็มไปด้วยโคลนตม ของแบบสมัยและรสนิยมที่นำก่อนเหตุ-ผลและเป็นคะแนนสำหรับบทต่อไปของสถาปัตยกรรม เพราะอาคารที่ก่อสร้างและออกแบบมีความซับซ้อนกว่าที่เคยเป็นมาแล้ว เช่นการเริ่มต้นโครงการในทุกขอบเขต ต้องการการรวบรวมข้อมูลมากมายในระดับหนึ่ง แต่ที่สำคัญกว่าคือ การมีจินตภาพซึ่งเราได้รับจากคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ สื่อทางศิลปะและป้ายโฆษณา ได้เปลี่ยนบันทึกต่างๆทางความคิดของเราที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรม โปรแกรมสำหรับที่ว่างของอาคารกลายเป็นเหตุ-ผลขั้นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ การออกแบบโดยทั่วไปเป็นไปตามลำดับขั้นจากความเป็นไปได้ทางธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นให้เห็น ให้รู้สึกหรือได้ยิน อุปมาเป็นตัวอย่างเช่น Frank Gehry โบกคันสีวิเศษและวิโอล่าไปมา นำความนิยมใหม่ของหินอ่อนมันเงาออกมาใช้ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างแรงบันดาลใจใหม่ให้เกิดขึ้นสำหรับการออกแบบของเขาในโครงการ พิพิธภัณฑ์ศิลปสมัยใหม่ (MOMA Bilbao) ในประเทศ Spain


Frank Gehry, MOMA Bilbao, Spain, 1997



แบบสมัยของการออกแบบที่ Frank Gehry ใช้ มักเป็นการปั้นแต่ง เปลี่ยนธรรมชาติของวัสดุผ่านทางการจัดแต่งใหม่ของรูปทรงและรูปร่าง จากงานในระยะแรก บ้านของเขาเอง ซึ่งได้เผยให้เห็นวัสดุของโครงสร้างและกำหนดรากฐานการหนีจากความคิดแม้แต่ความนึกคิดของแบบหลังทันสมัย


การเลี้ยวของกระบวนการและหลักฐานแห่งศตวรรษกระบวนการที่เราใช้ในการออกแบบอาคารปัจจุบันนี้มีความยุ่งยากกว่าแต่ก่อน สิ่งแรกเราเริ่มต้นที่ความต้องการ แล้วจัดการให้เหมาะกับข้อจำกัดที่กำหนดไว้ก่อนเคร่าวๆโดยเทศบัญญัติ แล้วเข้าไปเกี่ยวกับอาคารข้างเคียง เข้าไปเกี่ยวกับรายการประกอบในแต่ละส่วนของอาคาร กระบวนการนี้ลำพังแล้วดูเหมือนว่าทำให้ท้อแท้ แต่จริงๆแล้วไม่เลย ในความเชื่อที่ว่าความเป็นอัจฉริยะจริงนั้นสามารถเลี่ยงการเผชิญความเป็นปรปักษ์กันและกันได้


การเลี้ยวแห่งศตวรรษของสถาปัตยกรรม เดี๋ยวนี้เกี่ยวข้องกับรูปทรงที่เห็นมากกว่าแต่ก่อน แล้วยังเกี่ยวกับวิทยาการใหม่ที่รับรู้ ซึ่งเราทำให้เกิดความเป็นไปได้ในการเน้นการห่อหุ้มมันด้วยวิทยาการนั้น เรามีข้อมูลที่ใช้แล้วทิ้งและข้อมูลมากมายที่เกี่ยวกับวัสดุและกระบวนการ เรายังมีความสามารถใช้วัสดุบวกกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อตรวสอบการป้องกันน้ำ อะไรทั้งหมดที่ถือเป็นเหตุปัจจัยที่สำคัญ เราก็ยอมรับการที่จะเปลี่ยนแปลงมันได้ และเป็นเรื่องปกติธรรมดามากกว่าแต่ก่อน


สถาปัตยกรรมที่มีตราประทับหรือยี่ห้อในตลาดการค้าทุกวันนี้ เครื่องกำหนดแสดงเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญ มักนำมาเป็นเรื่องแรกๆในการออกแบบสถาปัตยกรรม สำนักงานใหญ่ของบริษัทต่างๆ มักสร้างเพื่อตั้งใจให้เป็นที่ผ่อนคลายมีอิสระภาพสำหรับความมีตัวตนของบริษัท ในลักษณะของแบบสมัยสากล-International Style ซึ่งบ่อยครั้งที่อ้างเป็นอัตต-ลักษณ์ของสถาปัตยกรรมทันสมัย พยายามที่จะตัดความเป็นส่วนตัวและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมออกไปเพื่อกำหนดเป็นลักษณะเฉพาะแบบรวมๆสำหรับทุกๆมาตรฐาน


ตราประทับหรือยี่ห้อนี้เป็นส่วนสำคัญที่แท้จริงของเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และในไม่ช้าก็จะมีคุณค่าเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ล้นเหลือ แต่ละบรรษัทต่อสู้เพื่อแย่งการตลาดด้วยตราบรรษัทที่เด่นชัดของเขา การจดสิทธิบัตรและตลาดการค้าเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จ การปราศจากเครื่องมืออันนี้ สิ่งที่มองเห็นได้ของบริษัทต่างๆก็จะไม่สามารถยึดถือเอาพลังที่เป็นความจริงทางพฤตินัยได้ นี่ก็เป็นเรื่องเดียวกันกับความเป็นปัจเจกชน การปราศจากตราประทับที่เป็นโดยอิสระของ ศิลปิน นักปรัชญา กวี นักวิทยาศาสตร์ และนักคิดที่ยิ่งใหญ่ ก็จะไม่เป็นที่ยอมรับหรือรำลึกถึงได้เลย ดังนั้นการล้วงลงในหวดที่ใส่ปลานี้ เปรียบเหมือนการเปิดกล่องของพวงผลไม้ ซึ่งเรารู้ก่อนได้ว่าข้างในเป็นอะไร


สถาปัตยกรรมของวิทยาการ สถาปัตยกรรมทุกวันนี้ถูกดันไปผูกมัดอยู่กับวิทยาการ สถาปนิกที่คิดไว้ล่วงหน้าในเรื่องนี้ มีตัวอย่างในปัจจุบันคือ Richard Rogers, Norman Foster, Renzo Piano และ Jean Nouvel, ท่ามกลางคนอื่นที่ไม่ได้เอ่ยนาม สถาปัตยกรรมของพวกเขาเหล่านี้ เกิดขึ้นมาจากองค์ประกอบและการประกอบเข้ากันด้วยวัสดุ และวิธีการที่เป็นวิทยาการชั้นสูง
ศิลปวิทยาการไม่มีอะไรที่น่าเชื่อถือไปกว่างานออกแบบ the Pompidou Center ในปี 1970's และในงานออกแบบเร็วๆนี้ เช่น the large Millennium Dome ในประเทศอังกฤษ สิ่งนี้เห็นได้ชัดว่า สถาปัตยกรรมคือวิทยาการ และมันเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาการซึ่งทำให้เกิดความต่างสำหรับอาคารที่มีวิทยาการเป็นคุณค่าพิเศษสุด


Renzo Piano/Richard Rogers, Pompidou Centre, Paris, France 1978
Richard Rogers, Millennium Dome, Grenwich England, 1999


เราขอจบศตวรรษของเราด้วยสัญชาติญานที่ติดเป็นนิสัยของเรา เช่นเราสร้างหอชูยอดสูงต่างๆด้วยวิทยาการที่ยอมรับกันแล้วห่อเอาเกณฑ์การใช้สอยรวมไว้ เราแสดงความก้าวไกลเป็นอย่างไรที่สามารถดันให้เกิดเครื่องห่อหุ้มนี้ สถาปัตยกรรมในสหัสวรรษใหม่จะดำเนินการต่อสู้ต่อๆไปสำหรับความเป็นเลิศในการออกแบบ โดยผ่านการยอมรับทางวิทยาการและการทัศนาที่สนุกสนานแน่นอน

ป้ายบอกสัญญานล่วงหน้า

ป้ายบอกสัญญานล่วงหน้า
การบอกกล่าวทฤษฎีสถาปัตยกรรมและการปฏิบัติที่หลงทิศทาง
โดย Anthony Catsimatides
2/14/99
(เรียบเรียงจาก...http://www.plannet.com/features/signposts.html)

ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าอ่านหนังสือหรือบทความที่เกี่ยวกับทิศทางการปฏิบัติสถาปัตยกรรมปัจจุบัน ข้าพเจ้าอ่านพบทิศทางที่ไม่รู้จัก ไม่มีทฤษฎีที่ควบคุมการออกแบบและการปฏิบัติสำหรับสถาปนิก สถาปัตยกรรมถูกกล่าวว่าอยู่ในขั้นวิกฤติ ไม่มีหลักการ ไม่มีสาระ อยู่ในอาการที่ส่อเค้าหายนะ

ข้าพเจ้าอ่านพบว่า สถาปนิกไม่พียงสูญเสียทิศทาง แต่ยังหลงทางความเป็นระดับแนวหน้าทางวิชาชีพ บ่อยครั้งที่ข้าพเจ้าได้ยินว่า นักจัดสรรและหน่วยงานรัฐบาลถูกจัดไว้เป็นผู้นำด้านหลักการสำหรับสถาปัตยกรรมของชุมชน ภูมิสถาปัตยกรรมของเมือง และเมืองใหม่ของชนบท กลับทั้งเป็นผู้จ้างวานสถาปนิกเพียงการเขียนภาพและให้บริการเขียนแบบเท่านั้น

อาชีพสถาปัตยกรรมนั้น เป็นอาชีพหนึ่งที่มีเกียรติและมีศักดิ์ศรีเสมอมา มันเป็นความลำบากใจมากที่มาพบความจริงของสถานะของสถาปนิกในทุกวันนี้ โดยไม่นับคุณภาพของสถาปนิกผู้มีชื่อเสียงเพียงเล็กน้อย ส่วนที่เหลือในอาชีพนี้นั้นมีคุณภาพอย่างเฟื่อนๆและซีดเซียว ไม่มีบทความหรือหนังสือมากนักที่ข้าพเจ้าเคยอ่านแล้วกล่าวถึงทิศทางของอาชีพนี้ ลองอ่านสิ่งเหล่านี้ในรายการของบรรณานุกรมแนบท้ายบทความนี้ อย่างน้อยก็เป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าได้อ่านพบมาแล้ว

ในบทความหรือหนังสือเหล่านี้ ซึ่งข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยทั้งหมด ยกเว้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียการควบคุมพวกนักจัดสรรและเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้น ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่าพวกเราที่เป็นสถาปนิกจะขาดแคลนในทิศทาง ทฤษฎีและการปฏิบัติที่เป็นอยู่นั้น มีหลักฐานมากมาย ซึ่งในความเห็นของข้าพเจ้านั้น มันชี้นำการดำเนินการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน แม้กระนั้น ข้าพเจ้าก็ต้องเห็นด้วยที่ว่าสถาปนิกส่วนมาก ไม่มีความดุดันเพียงพอที่จะแสวงหาหลักการของการบูรณาการในทิศทางเดียวกัน กลับยอมให้เรื่องเศรษฐกิจเป็นสิ่งเกินเลยไปจนขาดแคลนความคิดสร้างสรรค์ นี่เป็นการแก้ตัวที่น่าสงสาร แต่ก็มีความจริงของ "การขาดแคลนในหลักการ" สำหรับสถาปนิกส่วนมากในการปฏิบัติวิชาชีพที่เป็นอยู่ขณะนี้

งานออกแบบมากมายที่ดำเนินในทุกวันนี้ ส่วนมากมีความขลาด เป็นของพื้นๆ มีสุนทรีย์ที่น่าเบื่อ บ่อยครั้งไม่สนองการใช้สอย แต่ยังมีส่วนดีที่สุดคือมีเหตุผลในแง่ปฏิบัติ นี่ไม่ใช่ความผิดทั้งหมดของสถาปนิก นอกจากสิ่งที่ควรตำหนิ คือไม่มีความดุดันเพียงพอที่จะคงหลักการที่เคยยึดถือกันมาก่อนหน้านี้ มันจึงขึ้นอยู่กับสถาปนิกที่จะกระทำสิ่งถูกต้องจากความผิดพลาดให้ได้ นับเป็นความโชคร้ายด้วย ที่เราเผอิญมีระบบนิติศาสตร์ที่หนักอึ้งในประเทศนี้ ทำให้เป็นสิ่งที่เกระทำได้ยากที่จะนำเรื่องเหล่านี้มาดำเนินการได้ด้วยตนเองตามลำพัง ในบางกรณี บางสิ่งเป็นผลดีในระยะยาว เช่นเรื่องสุขภาพ ความปลอดภัย และสวัสดิการในระบบนิติธรรมที่สร้างไว้เพื่อควบคุมสถาปนิกให้ใส่ใจและถือเป็นเรื่องสำคัญในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ถ้าท่านมีการเตรียมตัวในทางปฏิบัติ สิ่งสุดท้ายที่ท่านต้องการทำคือให้เรียกร้องสิ่งที่นอกเหนือวิธีการทางเหตุผล ที่สามารถทำให้การดำเนินการปฏิบัติของท่านเป็นไปได้ต่อๆไป แม้บางอย่างที่เป็นความหวาดกลัวของสถาปนิกรุ่นก่อนๆ แต่เดี๋ยวนี้มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องราวที่แตกต่างกันแล้ว นั่นคือความคิดสร้างสรรค์ที่แหลมคม อันเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องการเกินเลยจากประโยชน์และความสดวกสบายในชีวิต ความแหลมคมในการคิดสร้างสรรค์นี้ยังดำรงอยู่ทั้งในทฤษฎีทางสถาปัตยกรรมและคงความเข้มข้นในทางปฏิบัติตราบถึงวันนี้ อย่างน้อยก็ยังมีอยู่ในสังคมสถาปัตยกรรมเป็นส่วนใหญ่

ในฐานะความเป็นมนุษย์ เราต้องการความเชื่อที่มีบางสิ่งบางอย่างที่มากกว่า ลึกซึ้งกว่าที่เราเคยทำหรือเคยเห็น เราต้องการความเชื่อที่ว่าหน้าที่ที่สูงกว่านั้นมีอยู่ในอาณาจักร์ของเราซึ่งเราสามารถคว้าเอามาได้ ศิลปะเป็นสิ่งที่มีเสน่ห์ชวนให้หลงไหลในจิตมนุษย์ เพราะมันนำมาซึ่งความรู้สึกที่ช่วยเพิ่มรสชาดของการดำรงชีวิต โปรดระลึกไว้ว่า ข้าพเจ้ามีชีวิตยืนยาวได้เพราะได้รับของกำนัลจากความรูสึกที่เคยได้ลิ้มรสมา การสะท้อนความหลังในชีวิตของข้าพเจ้าได้นั้น เป็นเพราะศิลปะนำมันออกมาจากตัวข้าพเจ้า และข้าพเจ้าแน่ใจว่าเป็นเช่นเดียวกันกับทุกท่าน เพราะฉะนั้นเราจะสามารถกล่าวอ้างความต้องการที่พักพิงเพียงเพื่อประโยชน์หลักทางกายอย่างเดียวนั้นได้อย่างไร? จิตใจก็ต้องการบางสิ่งบางอย่างด้วย เมื่อเราบรรลุงาน

สถาปัตยกรรมถึงงานที่ไม่มีวันสิ้นสุดในการจัดรวมองค์ประกอบต่างๆ หรือวางประโยชน์ใช้สอย หรือขนาดต่างๆอย่างบริบูรณ์แล้ว เราต้องข้ามอาณาจักร์ของสถาปัตยกรรมไปสู่อาณาจักร์ของการรวมจิตวิญญาณของมนุษย์เพิ่มเข้าด้วยกัน ด้วยการกระทำดังนี้ เราได้ทำลายเครื่องขวางกั้นระหว่างอาคารกับสถาปัตยกรรม ลงได้

โดยการป้อนให้อาหารทางใจเพิ่มความเจริญทางจิตวิญญาณอย่างสม่ำเสมอและตลอดเวลานี้ พวกสถาปนิกก็จะมีความแตกต่างกันกับงานปฏิบัติอย่างเป็นปกติธรรมดาของช่างไม้ แม้ว่าช่างไม้ก็มีความสำคัญไม่น้อยในการสร้างอาคารให้ปรากฏ แต่ด้วยวิสัยทัศน์บวกกับความคิดใหม่ๆหรือญาณทัสนะทางปัญญา ก็จะสรรค์สร้างสถาปัตยกรรมให้บรรลุผลอันสมประสงค์แห่งยุคได้
จากรากฐานในบทบัญญัติของความทันสมัย ผ่านถึงช่วงแรกๆของยุคหลังทันสมัย จนกระทั้งการผสมผเสกันของปัจจุบันนี้ มันไม่ปรากฏว่ามีการใช้ทฤษฎีใดนำทางเป็นเบื้องหน้า หรือเป็นฐานความคิดที่ทำให้เกิดความแตกต่าง หรือกำหนดเป็นทฤษฎีที่ยอมรับกันได้ในวิชาชีพ กาลครั้งหนึ่ง บนทางเลี้ยวแห่งศตวรรษ บางที นักทันสมัยก็อ้างว่าได้ค้นพบทิศทางที่ถูกต้องสำหรับสถาปัตยกรรมได้แล้ว พวกเขาตัดสินร่วมกันว่า การประดับประดาในงานสถาปัตยกรรมนั้นไม่ช่วยให้เกิดความปิติและไม่เป็นที่โปรดปราณ แต่ละอาคารจึงถูกผลิตขึ้นมาเพียงมุ่งที่ประโยชน์และกลายเป็นที่รวมการประโยชน์ใช้สอยเหล่านั้นไว้ด้วยกันเท่านั้น

แล้วต่อมาก็เกิด แบบสมัยสากล-International Style ในราวปี 1950's. แต่ก็เป็นอยู่ไม่นาน ความเบ่งบานในอเมริกาเกิดขึ้นจากกองเถ้าถ่านของสงคราม ด้วยการรวมทุกสิ่งเข้าด้วยกันทุกเรื่อง ทั้งทางการเมือง ทุกเชื้อชาติ ทุกสังคม และทุกจริยธรรม รวมเป็นหนึ่งเดียวของประเทศอย่างมั่นคง แต่อะไรล่ะที่ทุกคนไม่พอใจในประโยชน์ของการรวมในรูปแบบบรรษัทของอเมริกา? คือการมีปริมาณลูกจ้างของสำนักงานเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นเรื่องความเจ็บป่วย เพราะได้รับอากาศเสียภายในอาคาร ซึ่งไม่ให้ผลดีในเรื่องสุขภาพและสภาพแวดล้อม กระบวนระบบไม่เกิดการกระจายตัวที่เพียงพอ หรือความทันสมัยไม่พอที่จะรับมือกับเรื่องราวมากมายในปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ในระยะหลังๆ อาคารสร้างในเขตที่มีการป้องกันและควบคุมสภาพแวดล้อมทางอากาศได้ดีขึ้น แต่ความคับแคบทางความคิดในเรื่องโต้แย้งกันของประโยชน์ยังมากกว่าความสุนทรีย์ เส้นสาย รูปทรง การทับซ้อนขององค์ประกอบ ความสัมพันธ์แบบองค์รวม -gestalt ฯลฯ อันรวมเป็นลักษณะสะอาดและเรียบง่าย ทั้งๆที่ยังมีความเป็นท้องถิ่นของอเมริกาและยุโรปเป็นเสมือนหัวใจที่แฝงอยู่อย่างแท้จริง

ทฤษฎีสถาปัตยกรรมถูกชี้นำกลับไปผูกติดกับวัฒนธรรมและบริบทสภาพแวดล้อมที่สะท้อนในความรู้สึกได้ ไม่มีอีกแล้วที่จะออกแบบโดยเพื่อมุ่งประโยชน์และรูปแบบที่บริสุทธิ์แล้วสนองตอบกับความสุนทรีย์ได้อีกต่อไป สถาปนิกหลังทันสมัยต้องตระหนักถึงความเป็นท้องถิ่น ด้วยงานที่กำหนดความมุ่งหมายในการนำวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่ามาประยุกต์ไว้เป็นเนื้องานของมันเอง

ดังนั้น แม้ว่าจะไร้ทิศทาง และมันดูเหมือนการเกลี้ยกล่อมทางทัศนะคติสำหรับสถาปนิก นักวิจารณ์สถาปัตยกรรม และนักทฤษฎีส่วนมากที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ ไม่เป็นที่ยอมรับกัน ทิศทางเลยดูเหมือนเป็นความสับสน แต่ก็มีสัญญาณบางอย่างที่บอกถึงความก้าวหน้า การพอมีทิศทางเขื่อมโยงกัน และพอใช้เป็นหลักฐานแผ่ขยายไปทั่วโลก ทิศทางหนึ่งนี้ ิคือ ความรู้ความเข้าใจในระดับโลก และเป็นทิศทางที่สถาปนิกอเมริกันกำลังเพ่งตรงไปในทิศทางนี้ด้วย
ตลาดการค้าระดับโลก รวมกับการเติบโตของธุระกิจสื่อสารโทรคมนาคมเชื่อมต่อทุกส่วนของโลกเข้าด้วยกัน นำเอาวัฒนธรรมที่แตกต่างและหลากหลายเข้ามาอยู้ใกล้ชิดกัน ปรากฏการณ์นี้ชี้ให้เห็นทฤษฎีที่กำลังมาและกำกับการทำงานทุกอย่าง เราต้องออกแบบเกี่ยวข้องกับสิ่งนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต หรือแม้กระทั่งการเที่ยวระหว่างวันหยุดที่รวดเร็วไปสุดประเทศ หรือแม้ไปถึงประเทศอื่นๆที่ไกล สิ่งเหล่านี้ช่วยสร้างวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของเราได้มากกว่าบรรพบุรุษที่เคยมี ดังนั้นผลการกระทำจึงจำเป็นต้องมีความแตกต่างกว่ากันด้วย

ถ้าเราจะประนามสถาปนิกว่า ออกแบบเลวสำหรับโครงการบ้านจัดสรรทั้งหลาย กลุ่มสำนักงาน หรือศูนย์การค้า ก็จะต้องเพ่งไปที่ความมีประโยชน์ ความมีสุนทรีย์ หรือเรื่องจริยะธรรมในสิ่งที่ออกแบบนั้นๆ สถาปัตยกรรมเกี่ยวข้องกับสุนทรียศาสตร์ สถาปนิกมีอัตตา และต้องการอวดอะไรที่เขาสามารถทำได้ ข้าพเจ้าไม่ว่าเขาในเรื่องนี้ มันกลับเป็นความรู้สึกที่เยี่ยม ที่ทราบว่าเขากำลังสร้างสรรค์บางสิ่งให้มีความงดงามตลอดไป แต่ปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อสิ่งที่สุนทรีย์นั้นขัดแย้งกับความเชื่อ การโต้แย้งนี้จะเป็นข้อถกเถียงไปไกลกว่าที่ข้าพเจ้าจะสามารถประมาณได้ เราได้เรียนรู้มาในช่วงปี 1960's ว่า การนำเอานักออกแบบไปเกี่ยวข้องกับมวลอารยธรรมนั้น จะไม่สามารถรักษาหรือเยี่ยวยาความยากจน อาชญากรรม และโรคติดต่อของสังคมได้เลย
ทิศทางทุกวันนี้ ขึ้นอยู่กับการสื่อสารกันและกันในระดับโลก และเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นฐานของขับเคลื่อนตลาดการค้า ในเนื้อแท้นั้น เรากำลังทำการทดลอง เช่นงานของ Rem Koolhaas, Frank O. Gehry, Coop Himelblau, Renzo Piano, Kisho Kurokawa, Steven Holl, Peter Eisenman, Zaha Hadid และคนอื่นๆ เผยให้เห็นความแตกต่างในทิศทางที่เรากำลังดำเนินอยู่ งานของพวกเขา กล้าที่จะทำให้แตกต่างจากคนอื่น เมื่อนำมารวมกันแล้ว เป็นหลักฐานของทิศทางที่ต้องเชื่อมกับการสื่อสาร มันเป็นผลพลอยได้จากหลักธรรมชาติเบื้องต้นของการสื่อสารในระยะทางที่ไกล เราจับเอาจินตภาพที่อยู่แสนไกล และพิจารณามันให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของเรา มันไม่ใช่เรื่องปกติธรรมดาที่จะเห็นภาพลักษณ์ของวัฒธรรมที่หลากหลายมาผสมรวมกันในงานๆเดียว แต่นี่เป็นส่วนหนึ่งของโลกที่เราได้สร้างขึ้น เราได้ทำกล่องให้แตก ทำเศษแก้วและที่ว่างกระจัดกระจาย ไปไกลเกินมิติความจำก่อนหน้าที่เคยเข้าใจลักษณะของวัฒนธรรมเดิมที่เคยมีความแน่นอนและคงที่ และเรากำลังนำมันมาเป็นส่วนหนึ่งของมันด้วย

ทฤษฎีและการปฏิบัติทางสถาปัตยกรรมวันนี้ ถูกควบคุมโดยการเติบโตของตลาดการค้าระดับโลกทางการสื่อสารอีเล็กโทรนิคที่รวดเร็ว ซึ่งจะมีผลกระทบทุกวัฒนธรรมทั่วโลก การทดลองที่ยิ่งใหญ่คือ เราต้องเตรียมการไว้ ขยายการสนทนาต่อไป ให้ไกลเกินกว่าขอบเขตความเป็นธรรมดาของเรา และจัดทำความแข็งแกร่งในภาษาสถาปัตยกรรม ให้เป็นที่ยอมรับได้ในตลาดการค้าระดับโลกทุกวันนี้

บรรณานุกรม- How Buildings Learn, Stewart Brand - The Ethical Function of Architecture, Karsten Harris - Each one a Hero, The Philosophy of Symbiosis, Kisho Kurokawa - Editorial, Standing Up to Sprawl, by Rober Ivy, FAIA, Architectural Record, p15, Jan 1999 - Editorial, On the Market, by Reed Kroloff, Architecture Magazine, p11, December 1998 - How Places Affect People, by Winifred Gallagherm, Architectural Record, p75, Feb 1999

Postmodernism

Postmodernism
โดย...Dr. Mary Klages
(เรียบเรียงจาก...http://www.colorado.edu/English/ENGL2012Klages/pomo.html)

Postmodernism เป็นถ้อยคำและกรอบความคิดที่ซับซ้อน เกิดขึ้นในแวดวงวิชาการตั้งแต่กลางปี ๑๙๘๐ Postmodernism มีคำจำกัดความที่ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะมันเป็นแนวคิดหนึ่งที่ปรากฏในความหลากหลายของกฏเกณฑ์หรือแขนงวิชาการต่างๆ รวมถึงศิลปะ สถาปัตยกรรม ดนตรี ภาพยนตร์ วรรณคดี สังคมวิทยา สื่อสารมวลชน แฟชั่น และเท็คโนโลยี และยากที่จะระบุช่วงเวลาและประวัติศาสตร์ของมัน เพราะไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามันเกิดขึ้นมาเมื่อใด
อาจเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการการเริ่มคิดถึง -postmodernism ก็โดยการคิดถึงสิ่งที่เกี่ยวกับความทันสมัย-modernism ความเปลี่ยนแปลงเกิดจากการเริ่มและขยายความจากความทันสมัย -Modernism มีสองประเด็นหลัก หรือสองแนวทางในคำจำกัดความ ทั้งสองนี้เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในแนวคิด -postmodernism.

ประเด็นแรกหรือคำจำกัดความแรกของ -modernism นั้นมาจากการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเรื่องสุนทรียศาสตร์ในตราประทับของ "modernism." การเคลื่อนไหวนี้นำไปสูจุดหมายปลายทางของแนวคิดศิลปะตะวันตกของศตวรรษที่ ๒๐ (แม้ว่าร่องรอยจะเริ่มปรากฏในช่วงของศตวรรษที่ ๑๙ ก็ตาม) Modernism นั้น อย่างที่ทราบกัน เป็นการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงของแขนงวิชา ทัศนศิลป์ ดนตรี วรรณคดี และการละคอน ซึ่งต่อต้านแนวคิดแบบ Victorian ศิลปะเดิมที่เป็นอยู่ในขณะนั้น ในช่วง "high modernism," ระหว่างปี 1910 ถึง 1930 งานวรรณกรรมในแบบฉบับของ modernism ช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงและทบทวน การเขียนโคลงกลอนและนิยายกันใหม่ เช่นผลงานของ Woolf, Joyce, Eliot, Pound, Stevens, Proust, Mallarme, Kafka, และ Rilke ท่านเหล่านี้ถูกจัดเป็นผู้ริเริ่มของวรรณกรรม -modernism แห่งศตวรรษที่ ๒๐.

จากมุมมองทางด้านวรรณกรรม ลักษณะสำคัญของ modernism ประกอบด้วย:

1. เน้นเรื่องความรู้สึกล้วนๆ-impressionism และการเขียนในเชิงนามธรรม (เช่นเดียวกันงานทัศนศิลป์) การเน้นที่เห็น "อย่างไร" (หรือการอ่านหรือการรับรู้ด้วยตัวมันเอง) มากกว่า "อะไร" ที่มองเห็น ตัวอย่างนี้คือ งานเขียนที่เต็มไปด้วยกระแสของจิตที่มีสำนึก (stream-of-consciousness writing)

2. ความเปลี่ยนแปลงอันหนึ่ง คือสิ่งที่เกิดขึ้นจากความรอบรู้ในการบรรยายของบุคคลที่สาม มุมมองที่เฉพาะเจาะจง และเงื่อนไขทางศีลธรรมที่ชัดเจน เช่น เรื่องราวการบรรยายของ Faulkner เป็นตัวอย่างหนึ่งของแนวเขียนแบบ modernism.

3. ความกำกวมของความแตกต่างระหว่างเรื่องราวที่เคยสามารถอ่านได้จากภาพ กับบทกลอน ที่เพิ่มความเป็นสารคดี (เช่นงานเขียนของ T.S. Eliot ) และบทรอยแก้ว ที่ค่อนไปทางโคลงกลอนมากขึ้น (เช่นงานเขียนของ Woolf หรือ Joyce)

4. เน้นรูปแบบที่แยกออกเป็นส่วนๆ การบรรยายเรื่องราวที่ไม่ต่อเนื่องและการสุมรวมปะติดปะต่อของสิ่งที่แตกต่างกัน

5. โอนเอียงในทำนองการสะท้อนกลับ หรือรู้สำนึกได้ด้วยตัวเอง ที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะ เพื่อที่งานแต่ละชิ้นจะได้เรียกร้องความสนใจเฉพาะตามสถานะของการรังสรรค์ในวิธีการที่เป็นพิเศษ

6. รูปแบบทางสุนทรีย์เน้นที่ความน้อยสุด (minimalist designs ..เช่นในงานประพันธ์ของ William Carlos Williams) ส่วนใหญ่ปฏิเสธทฤษฎีสุนทรีย์ศาสตร์ที่เคร่งครัดแบบเดิม สนับสนุนการสร้างสรรค์ที่เกิดจากการค้นพบด้วยตนเองตามธรรมชาติ

7. ปฏิเสธการแยกเป็นสองขั้ว เช่น สูง และ ต่ำ หรือวัฒนธรรมยอดนิยมเดิมๆ ในการเลือกใช้วัสดุในการผลิตงานศิลปะ และวิธีการนำเสนอ การเผยแพร่ และการบริโภคของงานศิลปะ
Postmodernism มีความคล้ายคลึงกันกับ modernism ตามความคิดที่เหมือนกันเหล่านี้คือ ปฏิเสธเส้นแบ่งระหว่างความสูง-ต่ำในรูปแบบของศิลปะ ปฏิเสธความแตกต่างในความเป็นศิลปวัตถุที่เคร่งครัด เน้นการหลอมรวมกับสิ่งที่คุ้นเคย กำมะลอ การแดกดัน และความขบขัน ในแง่ศิลปะ (และความคิด) ของ Postmodern มักไหลย้อนกลับและมีสำนึกของตนเอง เปราะบางและไม่ต่อเนื่อง (โดยเฉพาะโครงสร้างการบรรยายความ) ขัดแย้ง ในเวลาเดียวกัน และการเน้นรื้อเปลี่ยนโครงสร้าง ย้ายความเป็นศูนย์กลาง ตัดสิทธิ์ความเป็นประธาน

แต่..แม้ในความเป็น -postmodernism ดูเหมือนจะคล้ายกับ -modernism ในหลายเรื่อง ความแตกต่างกันอยู่ที่ทัศนะคติในเรื่องนั้นๆ ดังเช่น Modernism โน้มเอียงไปที่ความเปราะบางในแง่ที่เกี่ยวกับจิตใจของมนุษย์และประวัติศาสตร์ (เช่นความคิดในงานประพันธ์เรื่อง The Wasteland ของ Woolf's To the Lighthouse) โดยเสนอว่า ความเปราะบางนั้นเป็นบางสิ่งที่เลวร้าย บางสิ่งที่เป็นความโทมนัสและเศร้าโศรกในความสูญเสีย งานของนักทันสมัย พยายามหยิบยกความคิดของงานศิลปะที่สนองความเป็นเอกภาพ ยึดเหนี่ยว และให้ความหมายในสิ่งที่สูญหายไปในชีวิตสมัยใหม่ ศิลปะจะสนองตอบในสิ่งที่สูญหายในสถาบันของความเป็นมนุษย์ Postmodernism ในทางกลับกัน ไม่เน้นความเปราะบางของโทมนัส สร้างทดแทน หรือไม่เกาะยึดไว้ แต่ค่อนไปทางเฉลิมฉลอง กระทำดังเช่นราวกับว่าโลกไร้ความหมาย? ไม่แสร้งทำให้ดูเหมือนว่าศิลปะสามารถให้ความหมายได้ กลับปล่อยให้เป็นเรื่องเล่นๆที่ไร้สาระ

อีกแง่ในการมองความสัมพันธ์ระหว่าง modernism และ postmodernism คือการช่วยให้เกิดความกระจ่างในความแตกต่างบางอย่าง ในทัศนะของ Frederic Jameson, modernism และ postmodernism เป็นการก่อรูปทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับลัทธิความเป็นทุนนิยม Jameson อ้างสาระสำคัญของวลีสามอย่างของลัทธิทุนนิยม ที่กำหนดความประพฤติทางวัฒนธรรม (รวมศิลปะและวรรณกรรม) เป็นพิเศษคือ สาระแรก เกี่ยวกับตลาดทุนนิยม ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๘ จนถึงตลอดศตวรรษที่ ๑๙ ในยุโรปตะวันตก อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา (และปริมณฑลโดยรอบ) ในสาระแรกนี้รวมเอาการพัฒนาทางวิทยาการต่างๆ เช่น เครื่องจักร์ไอน้ำ และลักษณะของสุนทรีย์ศาสตร์พิเศษ ที่เรียกว่า ความจริงแท้ -realism. สาระที่สองเกิดต่อจากศตวรรษที่ ๑๙ จนถึงศตวรรษที่ ๒๐ (ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง) ในสาระนี้ การถือเอกสิทธิ์ของระบบทุนนิยม ด้วยการรวมตัวกันของเครื่องไฟฟ้าและพลังงานและกับความทันสมัย -modernism ในสาระที่สาม วลีของเขาคือว่า เราเดี๋ยวนี้คือนักบริโภคนานาชาติของระบบทุนนิยม (ที่เน้น การตลาด การขาย การบริโภคแบบรวมซื้อเพื่อขายต่อ ไม่ใช่เพื่อการผลิตก่อนแล้วขาย) รวมกันกับวิทยาการด้านนิวเคลียร์และไฟฟ้า และบรรณสานสัมพันธ์กันเป็น postmodernism ในเวลาเดียวกัน

ดังที่ Jameson บ่งชี้ลักษณะของ postmodernism ในแง่กรรมวิธีของการผลิตและเท็คโนโลยี ปัญหาของคำจำกัดความที่สองของ postmodernism ที่มีมาจากประวัติศาสตร์และสังคม มากกว่าวรรณกรรมหรือประวัติศาสตร์ศิลปะ แนวคิดนี้กำหนด postmodernism ในนามของการเข้าไปก่อรูปของสังคมทั้งหมด กำหนดทัศนะคติของสังคม/ประวัติศาสตร์ ที่ชัดเจน คือแนวคิดนี้ขัดแย้งกันในเชิง ระหว่าง "postmodernity" กับ "modernity" แทนที่จะเป็นระหว่าง "postmodernism" กับ "modernism."

อะไรคือความแตกต่าง? "Modernism" โดยทั่วไปอ้างถึงความเปลี่ยนแปลงทางสุนทรีย์ศาสตร์กว้างๆในศตวรรษที่ ๒๐ ขณะที่ "modernity" อ้างถึงรากฐานทางปรัชญา การเมือง และความคิดด้านจิรยะธรรม ซึ่งถือเป็นรากฐานของความคิดทางสุนทรีย์พื้นฐานของ modernism. "Modernity" มีความเก่าแก่กว่า "modernism" ในการอ้างถึงชื่อ "modern" ประการแรกกำหนดในสังคมวิทยาสมัยศตวรรษที่ ๑๙ หมายถึงความแตกต่างของยุคสมัยปัจจุบันกับยุคสมัยก่อนที่ผ่านมา ซึ่งให้ชื่อว่า "โบราณ-antiquity" นักวิชาการทั้งหลายมักโต้แย้งเมื่อยุค "modern" ที่แน่นอนเริ่มต้น และทำอย่างให้เกิดความแตกต่างระหว่างอะไรที่ทันสมัย และไม่ทันสมัย มันเลยดูเหมือนว่ายุคทันสมัยเริ่มต้นก่อนหน้า ที่นักประวัติศาสตร์จะมองเห็น แต่โดยทั่วไปแล้วยุคของ "modern" จะหมายรวมกันกับยุคพุทธิปัญญาของยุโรป -the European Enlightenment ซึ่งเริ่มคร่าวๆในกลางศตวรรษที่ ๑๘ (นักประวัติศาสตร์บางคนย้อนรอยของพุทธิปัญญานี้กลับไปในสมัยเรเนอร์ซองค์ -Renaissance หรือก่อนหน้านั้นเสียอีก และบางคนอาจเถียงว่าความคิดของสมัยพุทธปัญญานี้เริ่มต้นในศตวรรษที่ ๑๘ แต่สำหรับข้าพเจ้า (ผู้เขียนบทความนี้) มักกำหนดวันที่ของ "modern" จากปีค.ศ.1750 เพียงเพราะข้าพเจ้าจบการศึกษาปริญญาดุษฎีบัณฑิต จากโปรแกรมของมหาวิทยาลัย Stanford ที่ชื่อว่า "Modern Thought and Literature," โปรแกรมนี้เน้นที่งานวรรณกรรมหลังปีค.ศ. 1750).

รากฐานความคิดของพุทธิปัญญา -the Enlightenment โดยคร่าวๆ เป็นเช่นเดียวกับรากฐานความคิดของมนุษย์นิยม -humanism บทความของ Jane Flax ให้ข้อสรุปรากฐานของความคิดเหล่านี้ ถือเป็นหลักฐาน (หน้า 41) โดยข้าพเจ้าจะเพิ่มเติมสองสามอย่างในรายการของเธอ

1. มีเสถียรภาพ ติดต่อกันเป็นเรื่องราว รู้ได้ด้วยตนเอง รู้ได้ในจิตสำนึกของตนเอง มีเหตุ-ผล เป็นอิสระ และครอบคลุมกว้างขวาง ไม่เพียงแค่เงื่อนไขทางกายภาพ หรือไม่มีผลกระทบความแตกต่างในเนื้อหาใจความ ที่ตนเองรับรู้ได้

2. การรู้โดยตนเอง และรู้โลกผ่านเหตุผล มีสติ ในสภาพของจิตใจที่ให้ประโยชน์สูงสุดตามภววิสัย

3. วิธีการรู้ เกิดจากวัตถุประสงค์ของความมีเหตุ-ผลแห่งตนที่เรียก "วิทยาศาสตร์" สามารถบ่งบอกความจริงสากลที่เกี่ยวข้องกับโลก โดยไม่ละเลยความเป็นปัจเจกภาพของผู้รู้

4. ความรู้เกิดจากวิทยาศาสตร์คือ "ความจริง" และไม่เป็นที่สิ้นสุด

5. ความรู้/ความจริง เกิดโดยวิทยาศาสตร์ (ด้วยการรู้วัตถุประสงค์อย่างมีเหตุ-ผลด้วยตนเอง) จะนำพาไปสู่ความก้าวหน้าและสมบูรณ์ ในทุกสถาบันและในการปฏิบัติของมนุษย์ สามารถวิเคราะห์ได้จากวิทยาศาสตร์ (ของวัตุประสงค์/เหตุผล) และปรับปรุงได้เสมอ

6. เหตุผลคือ ผู้ตัดสินสูงสุดว่าอะไรเป็นความจริง อะไรที่ถูกต้อง และอะไรที่ดี (อะไรที่ถูกกฏหมายและอะไรที่มีคุณธรรม) อิสระภาพประกอบด้วยความเชื่อฟังในกฏเกณฑ์ที่ตรงกันกับความรู้ที่ค้นพบด้วยเหตุผล

7. ในโลกที่ปกครองด้วยเหตุผล ความจริงจะเป็นเช่นเดียวกับความดีและความถูกต้อง (และความงาม) จะไม่ขัดแย้งกันระหว่างอะไรเป็นความจริงกับอะไรเป็นความถูกต้อง (ฯลฯ)

8. วิทยาศาสตร์ เช่นนี้..ถือเป็นกระบวนทัศน์ (paradigm) ที่เป็นประโยชน์สำหรับความรู้ต่างๆของสังคม วิทยาศาสตร์เป็นกลางและเป็นภววิสัย นักวิทยาศาสตร์ผู้ผลิตความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ด้วยความสามารถที่ไม่มีอคติ ต้องมีอิสระในการเจริญรอยตามหลักเกณฑ์ของเหตุผล ไม่ถูกชักจูงด้วยสิ่งอื่น (เช่น เงินหรืออำนาจ)

9. ภาษา หรือวิธีการแสดงออก ใช้ประโยชน์ในการนำเสนอและเผยแพร่ความรู้ ต้องมีเหตุ-ผลด้วย การมีสติในเหตุ-ผลนั้น ภาษาต้องโปร่งใส ใช้ประโยชน์เพื่อแทนโลกที่รับรู้จริงๆด้วยการสังเกตุของจิตใจที่มีสติสัมปชัญญะ ต้องมั่นคงและเป็นภววิสัยเชื่อมวัตถุที่รับรู้กับโลกเข้าด้วยกันด้วยบัญญัติ (ระหว่างสัญลักษณ์และผู้กำหนด)

มีบางหลักฐานที่เป็นบรรทัดฐานของความเป็นมนุษย์ หรือของความทันสมัย- modernism ซึ่งมันช่วยในการบอกกล่าว ตัดสินและอธิบายโครงสร้างสังคมและสถาบันได้อย่างแท้จริง รวมทั้งประชาธิปไตย กฏหมาย วิทยาศาสตร์ จริยศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์

Modernity คือมูลฐานหนึ่งของระเบียบ (order) เกี่ยวกับสติสัมปชัญญะและความมีเหตุ-ผล ระเบียบของการสร้างสรรค์ให้พ้นจากความหายนะ ข้อสันนิษฐานหนึ่งคือว่า การสร้างสรรค์ที่มีเหตุ-ผล จะนำไปสู่การสร้างสรรค์ที่มีระเบียบมากกว่า สร้างสังคมให้มีระเบียบมากกว่า ให้ประโยชน์มากกว่า (มีเหตุ-ผลมากก็จะเป็นประโยชน์มาก) เพราะว่า -modernity จะนำไปสู่การเพิ่มระดับของระเบียบ เป็นสังคมทันสมัย เป็นเกราะป้องกัน "ความไร้ระเบียบ" ที่จะทำลายความเป็นระเบียบ ด้วยเหตุนี้ สังคมทันสมัยจึงขึ้นอยู่กับการสร้างเสริมอย่างต่อเนื่องของสองขั้วระหว่าง "ระเบียบ" และ "ไร้ระเบียบ" เพื่อที่เขาจะรักษา "ระเบียบ" ให้เหนือกว่าอยู่เสมอ แต่การจะกระทำได้ดังนี้ เขาต้องมีสิ่งที่เป็นตัวแทนของความ "ไร้ระเบียบ" สังคมทันสมัยจึงต้องมีการสร้าง/เสริม ความ "ไร้ระเบียบ" ในสังคมตะวันตก ความไร้ระเบียบกลายเป็น "สิ่งอื่น" ที่กำหนดความสัมพันธ์กับสองขั้วตรงข้ามอื่นๆ ฉะนั้น บางสิ่งไม่ขาว ไม่ชาย ไม่แตกต่างทางเพศ ไม่สะอาดบริสุทธิ์ ไม่เป็นเหตุ-ผล (ฯลฯ) กลายเป็นส่วนของความ "ไร้ระเบียบ" และต้องกำจัดออกไปเสียจากสังคมที่มีระเบียบ สำหรับสังคมที่ทันสมัยและมีเหตุ-ผล

วิถีทางต่างๆที่สังคมทันสมัยดำเนินการจำแนกตราประทับ "ระเบียบ" และ "ไร้ระเบียบ" คือจะต้องพยายามรักษาความสมดุลป์ Francois Lyotard (นักทฤษฎีเช่นเดียวกับ Sarup ซึ่งพรรณาในบทความ-postmodernism ของเขา) จัดความสมดุลป์ด้วยความคิดของ "โมกขบริสุทธิ์-รวมยอด-totality" หรือระบบรวมยอด-totalized system (ตรงนี้ควรนึกถึงความคิดของ Derrida's idea of "totality" เช่นเดียวกับ องค์รวมหรือความสัมบูรณ์ของกระบวนระบบ) การรวมยอด และความสมดุลป์ และระเบียบ Lyotard แย้งถึงการคงไว้ในสังคมทันสมัยผ่านขบวนการของ "การบรรยายโวหารที่กว้างขวาง-grand narratives" หรือ "สร้างโวหารที่ครอบงำ-master narratives," ซึ่งเป็นเรื่องของวัฒนธรรมที่บอกเล่าตัวเองถึงการปฏิบัติและความเชื่อ "การบรรยายโวหารที่กว้างขวาง" ในวัฒนธรรมอเมริกัน อาจเป็นเรื่องราวของประชาธิปไตย คือพุทธิปัญญา (อย่างมีเหตุ-ผล) ถือเป็นรูปแบบของรัฐบาล และระบอบประชาธิปไตยจะนำพาความผาสุขให้กับมนุษย์ทั้งมวล ทุกกระบวนระบบของความเชื่อและความคิดฝันมีการบรรยายโวหารที่กว้างขวาง ในทัศนะของ Lyotard ดังตัวอย่างเช่น ลัทธิมาร์ก โวหารที่กว้างขวาง คือความคิดที่ว่าลัทธิทุนนิยมจะพินาศด้วยตัวของมันเอง และสังคมแบบยูโทเปียจะอุบัติขึ้นแทน ท่านอาจคิดถึงโวหารที่กว้างขวางนี้ เป็นดังเช่นทฤษฎียิ่งใหญ่-meta-theory หรือความคิดฝันที่ยิ่งใหญ่-meta-ideology นั่นคือความคิดฝันที่อธิบายสู่ความคิดฝันอีกอันหนึ่ง (ดังเช่นลัทธิมาร์ก) เป็นเรื่องราวที่ถูกบอกกล่าวเพื่ออธิบายกระบวนระบบของความเชื่อที่ยังคงอยู่

Lyotard แย้งว่ารูปการทั้งหมดของสังคมทันสมัย รวมถึงวิทยาศาสตร์อันเป็นรูปแบบสำคัญของความรู้ ขึ้นอยู่กับโวหารที่กว้างขวาง Postmodernism จึงเป็นบทวิจารณ์ของโวหารที่กว้างขวาง ความเอาใจใส่ต่อโวหารทั้งหลายที่ใช้เป็นเหมือนหน้ากากปิดบังความขัดแย้งและความไร้สมดุลป์ ซึ่งฝังติดอยู่ในการจัดการและการปฏิบัติทางสังคม ในอีกนัย คือทุกความพยายามเพื่อสร้างสรรค์ "ระเบียบ" ต้องการสร้างจำนวนที่เท่าๆกันกับความ "ไร้ระเบียบ" อยู่เสมอ แต่โวหารที่กว้างขวางปิดบังการสร้างของการจำแนกเหล่านี้ โดยอธิบายว่า ความ "ไร้ระเบียบ" แท้จริงแล้ว คือหายนะ และความเลว และความมี "ระเบียบ" แท้จริงหรือความมีเหตุ-ผลและความดี Postmodernism ปฏิเสธโวหารที่กว้างขวางนี้ กลับชื่นชม "การบรรยายโวหารเล็กๆ-mini-narratives," คือเป็นเรื่องราวที่อธิบายการปฏิบัติขนาดย่อม เหตุการณ์ระดับท้องถิ่น แทนที่เป็นแนวคิดขนาดใหญ่ชนิดครอบจักรวาลเดิมๆทั้งหลาย Postmodern ในลักษณะของ "การบรรยายโวหารเล็กๆ" เป็นเช่นสถานการณ์ เป็นเช่นการเตรียมการ เป็นเช่นความไม่แน่นอน และเป็นการชั่วคราว เท่านั้น ไม่เรียกร้องความเป็นสากล ความจริง เหตุผล ความมั่นคง หรือเสถียรภาพใดๆเลย

บางรูปการของความคิดทางพุทธิปัญญา-ในเก้าข้อของข้าพเจ้า-คือความคิดเห็นที่ว่าภาษาคือความโปร่งใส คำ ถูกใช้เพื่อแทนความคิดและสรรพสิ่งทางวัตถุทั้งหลายเพื่อประโยชน์เท่านั้น สังคมทันสมัยขึ้นอยู่กับความคิดเห็นที่ผู้กำหนดชี้ไปที่สิ่งที่บัญญัติ และความเป็นจริงอาศัยกันกับสิ่งที่กำหนด ใน (สังคม)- postmodernism มีเพียงผู้กำหนดเท่านั้น ความคิดของเรื่องเสถียรภาพ หรือความจริงถาวรไม่ปรากฏในสิ่งที่กำหนดซึ่งชี้โดยผู้กำหนด สังคมหลังทันสมัยมีเพียงผิวเปลือก ปราศจากความลึก แค่เพียงผู้กำหนด ไม่ใช่สิ่งที่กำหนด

กล่าวอีกนัย ตามทัศนะของ Jean Baudrillard คือ ในสังคมหลังทันสมัย ไม่มีต้นแบบ มีเพียงสำเนา-หรืออะไรที่เขาเรียกว่า "จินตภาพของบางสิ่ง-simulacra" ท่านอาจเปรียบกันได้เช่น ภาพวาด หรือปฏิมากรรม ที่มีงานต้นฉบับ (เช่นงานของ Van Gogh เป็นต้น) ซึ่งอาจมีสำเนาเป็นพันๆ แต่ต้นฉบับมีเพียงหนึ่งที่มีคุณค่าสูง (โดยเฉพาะค่าของเงิน) ซึ่งตรงข้ามสิ้นเชิงกับงานที่ถูกบันทึกด้วยซีดีหรือการบันทึกเพลง ซึ่งไม่มี "ต้นฉบับ" ของมันดังเช่นงานภาพเขียน-ไม่มีการบันทึกไว้แขวนบนผนัง หรือเก็บไว้ในกรุ มีแต่เพียงแค่สำเนาเป็นร้อยๆที่เหมือนกันทั้งหมด และขายในราคา (โดยประมาณ) เดียวๆกัน อีกความหมายของ "simulacrum" Baudrillard หมายถึงแนวคิดของความเหมือนความจริง ความจริงที่เกิดจากการจำลอง ซึ่งไม่มีต้นฉบับ เช่นตามหลักฐานเฉพาะของเกมจำลองทางคอมพิวเตอร์-ในความคิดของ Sim City, Sim Ant ฯลฯ

ท้ายสุด -postmodernism เกี่ยวข้องกับคำถามการจัดการความรู้ ในสังคมทันสมัยที่ว่า ความรู้เทียบเท่าวิทยาศาสตร์ และตรงข้ามกับการบรรยายโวหาร วิทยาศาตร์เป็นความรู้ที่ดี และการบรรยายโวหารเป็นความรู้ที่เลว โบราณ และไม่มีเหตุ-ผล (อันรวมถึง ผู้หญิง เด็กๆ คนพื้นเมือง และคนป่วยทางจิต) อย่างไรก็ตาม ความรู้เป็นสิ่งดีในตัวมันเอง คนได้รับความรู้ผ่านทางการศึกษา เพื่อการเรียนรู้โดยทั่วไป จึงจะกลายเป็นผู้มีความรู้ นี่คือความคิดฝันของการศึกษาศิลปศาสตร์แบบเสรีนิยม ในสังคมหลังทันสมัย ความรู้ถือเป็นประโยชน์-ท่านเรียนสิ่งต่าง โดยอาจไม่รู้ แต่ใช้ประโยชน์มันได้ ตามที่ Sarup ชี้ไว้ (หน้า138) ว่า นโยบายการศึกษาปัจจุบันเน้นทักษะและการฝึกฝน มากกว่าความนึกคิดในแง่การศึกษาความเป็นมนุษย์ทั่วไป จึงมีคำกล่าวถามเฉพาะและรุนแรงในวิชาภาษาอังกฤษที่ว่า " ท่านจะทำอะไรกับปริญญาของท่าน?"
ไม่เพียงแต่ความรู้ในสังคมหลังทันสมัย ที่บ่งคุณลักษณะในประโยชน์ของมันเท่านั้น แต่ความรู้ยังเผยแพร่ เก็บรวมไว้ และแยกแยะความแตกต่างในสังคมหลังทันสมัยมากกว่าในสังคมทันสมัย โดยเฉพาะ การเกิดขึ้นของเท็คโนโลยีคอมพิวเตอร์ ได้ปฏิวัติวิธีการผลิตความรู้ การเผยแพร่ และการบริโภคในสังคมของเรา (จริงทีเดียวที่บางคนแย้งว่า-postmodernism คือการพรรณาที่ดีที่สุด และมีปฏิสัมพันธ์ จากการอุบัติขึ้นของเท็คโนโลยีคอมพิวเตอร์ เริ่มขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1960s ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของชีวิตทุกรูปแบบในสังคม) ในสังคมหลังทันสมัย บางสิ่งไม่สามารถแปลความหมายไปสู่รูปแบบที่แสดงหรือเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์-ดังเช่น บางสิ่งไม่สามารถกำหนดเป็นตัวเลข-ที่กำหนดเป็นความรู้ได้ สำหรับกระบวนทัศน์นี้ สิ่งตรงข้ามของ "ความรู้" ไม่ใช่ "ความโง่เขลา" เหมือนเช่นในกระบวนทัศน์ของความเป็นมนุษย์/ความทันสมัย แต่เป็น "การประกาศโด่งดัง-noise" หรือ บางสิ่งซึ่งเทียบคุณภาพไม่ได้กับชนิดของความรู้ คือ "การประกาศโด่งดัง" เป็นบางอย่างซึ่งรับรองไม่ได้ เช่นเดียวกับบางสิ่งภายในระบบนี้

Lyotard กล่าว (ในสิ่งที่ Sarup ใช้เวลามากในการอธิบาย) ว่า คำถามที่สำคัญของสังคมหลังทันสมัย คือ ใคร?คือผู้ตัดสินว่าอะไรคือความรู้ (และอะไรคือ "การประกาศโด่งดัง-noise") และใคร?รู้ว่าอะไรคือความต้องการที่จะตัดสินว่า การตัดสินใจเกี่ยวกับความรู้นี้จะไม่เกี่ยวข้องกับคุณวุฒิ ของความสัมพันธ์เก่า ของความทันสมัย/ความเป็นมนุษย์ ตัวอย่างเช่น การเข้าถึงความรู้คือความจริง (คุณภาพทางเทคนิคของมัน) หรือความดี หรือความยุติธรรม (คุณภาพทางจริยธรรมของมัน) หรือความงาม (คุณภาพทางสุนทรีย์ของมัน) ทดแทนการโต้แย้งของ Lyotard ในแง่ความรู้ที่ตามกระบวนทัศน์ของเกมทางภาษา ที่เริ่มไว้โดย Wittgenstein ซึ่งข้าพเจ้าจะไม่ลงในรายละเอียดในความคิดของเขาเกี่ยวกับเกมทางภาษา เพราะ Sarup เสนอการอธิบายที่ดีในแนวคิดนี้ไว้ในบทความของเขา ในสิ่งที่ท่านทั้งหลายอาจสนใจ

มีคำถามมากมายที่จะถามเกี่ยวกับ- postmodernism หนึ่งในความสำคัญคือ คำถามที่เกี่ยวกับความเกี่ยวข้องทางการเมือง-หรือง่ายๆ คือกระแสความคิดนำไปสู่ความเปราะบาง การเตรียมการ การปฏิบัติ และความไม่มั่นคงของบางอย่างที่ดี บางอย่างที่เลวของมัน ? ที่มีคำตอบที่หลากหลายเกี่ยวกับคำถามนี้ ในสังคมร่วมสมัยของเราทุกวันนี้ อย่างไรก็ตาม ความปรารถนาที่จะกลับไปสู่ยุคก่อน-หลังทันสมัย (ความทันสมัย/ความเป็นมนุษย์/ความคิดของยุคพุทธิปัญญา) เอนเอียงที่จะร่วมกันกับการเมือง การศาสนา และกับกลุ่มปรัชญาแบบอนุรักษ์นิยม อันที่จริง ข้อตกลงหนึ่งของ-postmodernism ดูเหมือนว่าเกิดจากศาสนาลัทธิต้นแบบ-religious fundamentalism ในรูปแบบการต่อต้าน การตั้งคำถามของ "การบรรยาโวหารกว้างขวาง" ของความจริงทางศาสนา สิ่งนี้บางที่เห็นได้ชัดแจ้ง (สำหรับพวกเราใน US, บางที) ในศาสนามุสลิมลัทธิต้นแบบในประเทศตะวันออกกลาง ซึ่งประกาศห้ามหนังสือของยุคหลังทันสมัย-แบบของ Salman Rushdie's The Satanic Verses --เพราะเขาได้รื้อทิ้งโครงสร้างเช่นการบรรยายโวหารแบบกว้างขวางเดิม

การร่วมกันระหว่างการปฏิเสธ-postmodernism กับลัทธิอนุรักษ์นิยม-conservatism หรือลัทธิต้นแบบ-fundamentalism อาจอธิบายในส่วนที่ทำไม-postmodern ประกาศความเปราะบางและเพิ่มความเอนเอียงไปทางความเสรีและรุนแรงมากขึ้น นั่นคือ ทำไม นักทฤษฎีเพศหญิงสนใจ-postmodernism ดังเช่นที่ Sarup, Flax, และ Butler ทั้งหมดชี้ให้ปรากฏ

ในอีกความเห็น-postmodernism ดูเหมือนเสนอทางเลือกเพื่อเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมบริโภคนิยมของโลก ที่ซึ่งบรรษัทข้ามชาติ และรูปแบบของความรู้ ถูกเสนอให้เป็นพลังขับเคลื่อนที่ไกลกว่าพลังของปัจเจกชนที่จะควบคุมได้ ทางเลือกเหล่านี้ เน้นไปที่ความคิดของทุกการกระทำ (หรือการดิ้นรนทางสังคม) เน้นที่ความจำเป็นระดับท้องถิ่น ข้อจำกัด และการมีส่วนร่วม-แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ด้วยการล้มเลิกการบรรยายโวหารแบบกว้างขวาง (เหมือนความเสรีของชนชั้นแรงงานทุกชนชั้น) และกลับเน้นที่เป้าหมายในระดับท้องถิ่นโดยเฉพาะ (เช่น การปรับปรุงศูนย์ดูแลเด็กอ่อนของมารดาในชุมชนของเรา) การเมืองหลังทันสมัย เสนอวิถีทางทฤษฎีสถานการณ์ท้องถิ่นที่ลื่นไหลและคาดเดาไม่ได้ ผ่านการสนับสนุนแนวสากลทั่วโลก ด้วยเหตุนี้ คำขวัญสำหรับนักการเมืองหลังทันสมัยอาจเป็นว่า "คิดแบบสากล แต่กระทำแบบท้องถิ่น-think globally, act locally"--และไม่ควรกังวลกับโครงการใหญ่หรือแผนแม่บทใดๆเลย

ข้อมูลทั้งหมดในเว็บนี้ เป็นข้อเขียนและสัมบัติของ Dr. Mary Klages, Associate Professor, English Department, University of Colorado, Boulder. ยินดีให้ทุกท่านอ้างคำกล่าวในบทความนี้ หรือเชื่อมโยงกับเว็บของท่าน กับด้วยสำนึกในการเผยแพร่ที่สมควรและเหมาะสม สำหรับข้อมูลที่อ้างไว้ในบทความนี้ สามารถค้นหาได้ที่ English 2010 Home Page
ปรับปรุงสุดท้ายเมื่อ: December 3, 1997สำหรับข้อวิจารณ์หรือเสนอแนะ ติดต่อไปที่ Professor Mary Klages Return to English 2010 Home Page

อ่านเพิ่มเติม....
แนวคิดของ Lyotard และคนดังหลังสมัยใหม่( ลัทธิหลังสมัยใหม่และปรัชญา : Postmodernism and Philosophy : Stuart Sim)แปลและเรียบเรียงโดย สมเกียรติ ตั้งนโม สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปรัชญา
http://www.geocities.com/miduniv888/newpage3.html

Peter Eisenman

เรียบเรียงจาก....http://xarch.tu-graz.ac.at/home/rurban/course/intelligent_ambiente/interview_eisenman.en.html
บทสัมภาษณ์ Peter Eisenman
โดย SELIM KODER
aus "Intelligente Ambiente", Ars Eletronica 1992

Peter D. Eisenman (PDE): เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยให้งานสถาปัตยกรรมขยายเกินขีดจำกัดเดิมไปได้มาก ข้อจำกัดหนึ่งคือเรื่องจัดการเกี่ยวกับเครื่องมือ ในอดีตสถาปนิกจัดการเรื่องบางเรื่องด้วยมือจากสิ่งที่เขาเคยเรียนรู้มา เพราะฉนั้นการออกแบบจึงขาดๆเกินๆ ซึ่งถ้าใครคนหนึ่งออกแบบก็จะใช้มือเขียนสิ่งที่อยู่ในหัวออกมารวมๆกันโดยเสรี ขบวนการนี้จึงเป็นเรื่องการแก้ไขสิ่งที่เขียนกับสิ่งที่เกิดเป็นจินตภาพล่วงหน้าในหัว แบบที่เขียนครั้งแรกอาจเพี้ยนจากสิ่งที่คิดอยู่ในหัว บางคนจึงต้องคอยมองหาอีกในสิ่งที่เขียนครั้งที่สองและสาม แต่ละครั้งในกระบวนการออกแบบเดิมๆ สถาปนิกจะค่อยๆเข้าไปใกล้กับจินตภาพหนึ่งๆในหัว นี่เป็นการสร้างจินตภาพล่วงหน้าเสมอ ไม่ว่าจะเป็นแบบสถาปัตยกรรมเดิมๆ หรือรูปแบบใหม่และความรู้สึกพิเศษๆก็ตาม มันเป็นสิ่งที่ขีดเขียนออกมา จึงเห็นได้ชัดว่า ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ สถาปนิกก็สามารถเขียนจิตภาพเหล่านั้นออกมาได้เช่นกัน แต่เครื่องก็มีจิตภาพของมันเอง มีการจัดการ กฏเกณฑ์ โครงสร้างและรูปแบบที่สถาปนิกไม่รู้จัก หรือพูดในอีกแง่ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นมีสิ่งกำหนดล่วงหน้าก่อนแล้ว ถ้าไม่มีใครพบและสังเกตุรู้ก็จะไม่รู้จักมันเลย เห็นได้ชัดว่า มันไม่ใช่กฏเกณฑ์ที่กำหนดล่วงหน้าเช่นเดียวกับกฏระเบียบของสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม แต่เป็นกฏระเบียบที่จำกัดเรื่องจินตภาพด้วยการจัดเตรียมของเครื่องจักรกล

ประการแรก..เป็นการทดแทน ที่ใครๆสามารถวางขั้นตอนกฏเกณฑ์ของโครงสร้าง ใส่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่รู้จักมันล่วงหน้าในสิ่งนั้นมาก่อน เมื่อมันทำการประมวล ก็จะกลายเป็นกระบวนการทดสอบทางคณิตศาสตร์เพื่อผลลัพท์ที่เป็นไปได้ การเขียนเป็นการแก้ไขผลของคณิตศาสตร์เหล่านี้กลายเป็นงานของการออกแบบ สถาปนิกสามารถแก้ไขจินตภาพที่ทำให้กฏเกณฑ์ของโครงสร้างปรากฏและสามารถนำไปก่อสร้างได้ จินตภาพเหล่านี้ต่างออกไปจากประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์ที่แต่ละคนกำลังครุ่นคิดอยู่ เป็นการยอมให้เครื่องคอมพิวเตอร์เปิดเผยความอดกลั้นที่ซ่อนเร้นของแต่ละคน ในเชิงจิตวิทยาและประวัติศาสตร์ของสถาปัตยกรรม ซึ่งสันนิษฐานเอากันว่าเป็นความรู้และความจริงทั้งหมดของสถาปัตยกรรม ในเมื่อสถาปัตยกรรมต้องการการปรับปรุงเสมอๆ แต่ละคนในช่วงเวลาของตนไม่สามารถเข้าถึงประวัติศาสตร์ของมันทั้งหมดได้ และก็ไม่สามารถเข้าถึงประวัติศาสตร์ของอนาคตได้ด้วย แต่วิทยาการทางคอมพิวเตอร์สามารถเข้าถึงความเป็นไปได้ของสิ่งเหล่านั้น

ประการที่สอง..เครื่องคอมพิวเตอร์ยอมให้เกิดความเป็นไปได้ในการรวมใส่ทุกๆสิ่งเข้าด้วยกัน ซึ่งมากเกินกว่าที่วิทยาการก่อสร้างปัจจุบันสามารถกระทำอยู่ เช่น ตัวอย่างอุตสาหกรรมยานอวกาศหรือรถยนต์ เครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะบังคับให้เข้าสู่กระบวนการผลิตอัตโนมัท ที่สามารถสร้างมันได้ในโรงงาน และเปิดเผยให้เห็นที่จอภาพ แต่นี่ไม่ใช่กรณีของสถาปัตยกรรม จริงๆแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นคือ เมื่อเราเริ่มใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นเท่าไร ความยากลำบากในการผลิตชิ้นส่วนมาตรฐานก็มีมากขึ้นเท่านั้น ชิ้นส่วนประกอบของเหล็ก ถูกผลิตโดยใช้หุ่นเครื่องกลผลิตซ้ำๆในมาตรฐานเดียวกัน เมื่อมีความแตกต่างเกิดในชิ้นส่วนของเหล็กนี้ หุ่นเครื่องกลก็ไม่สามารถกระทำได้ จำเป็นต้องจัดเปลี่ยนยุทธวิธีทางคอมพวเตอร์เสียใหม่ เพื่อผลิตชิ้นส่วนจำนวนมากในงานสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะเป็นโครงผนังกระจกหรือกรอบบานหน้าต่าง หรืออื่นๆ สำหรับผลิตภัณฑ์มาตรฐาน ข้อจำกัดไม่เพียงแต่อะไรที่สถาปนิกสามารถออกแบบเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถออกแบบได้ด้วย แต่ขณะนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ไปไกลล่วงหน้าความสามารถด้านอุตสาหกรรม สถาปนิกสามารถสร้างสิ่งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งอุตสาหกรรมการก่อสร้างมีขีดความสามารถยังไปไม่ถึง

ประการสุดท้าย..มีความเป็นไปได้ในอนาคต..หรืออะไรที่สถาปนิกอาจจะเป็น ตามธรรมดาเมื่อสถาปนิกเขียนโครงร่างของรูป การเขียนเป็นลักษณะของเส้น ทุกสถาปนิกเขียนแบบด้วยเส้นและประกอบกันเป็นมวลทึบ เมื่อต้องการทำช่องเปิดก็จะเขียนเส้นที่สองซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมวลทึบ เป็นที่บรรจุและสิ่งที่ถูกบรรจุไว้ นี่เป็นวิธีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนมากสร้างมวลทึบที่ซับซ้อน วิธีที่เราจำลองมวลทึบที่ซับซ้อนบนเครื่องคอมพิวเตอร์ คือเขียนเส้นแรกรอบเปลือกนอก แล้วจึงเขียนเส้นรอบภายในเปลือก แล้วจึงตัดชิ้นส่วนในออกจากด้านนอก เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานโดยการจำลองมวลทึบ และทางเดียวที่จะทำช่องเปิดก็โดยการชักดึงออกมา เดี๋ยวนี้ ทั้งหมดในการทำงานทางสถาปัตยกรรมตลอดกาลคือ phallocentric (center on male attitude) และเป็นจุดเด่นที่น่าสนใจปัจจุบัน สถาปัตยกรรมยังคงเป็นปราการสุดท้ายในศิลปะร่วมสมัยของ phallocentrism (ศิลปะที่มุ่งเน้นความเป็นเพศชาย) ข้อแรกเพราะความคิดว่าการปิดล้อมของมันเป็นความจำเป็นของมวลทึบ และเป็นการตกแต่งโครงร่างของรูป... รูปกรวยเกิดเพราะเครื่องมือเขียนแบบที่เราผลิตเส้นและมวลทึบ เส้นเหล่านี้ถูกใช้แทนมวลทึบ สิ่งที่ผมกำลังพูดถึงอยู่นี้คือว่า ยังมีหลักการอื่นๆที่เป็นไปได้ในการจำลองมวลทึบ อีกนัยหนึ่งการจำลองโครงสร้างนี้เป็นการปั้นดินโคลน เป็นการก่อให้เกิดผลด้วยกลไกภายในตนเอง ที่มีกฏและพฤติกรรมของตนซึ่งเริ่มจากโครงร่างที่คงที่ ไม่ได้เริ่มจากโครงร่างที่จดจำมาก่อน การปั้นโคลนไม่เหมือนอะไรบางอย่าง จริงแล้วมันไม่มีความแน่นอนในการสร้างรูปจากสิ่งที่บรรจุซึ่งอยู่ในนั้น มันมีการจัดการโครงสร้างที่หลากหลาย ซึ่งขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวและเติบโต
ถ้ามันเป็นความสามารถในงานสถาปัตยกรรมที่เริ่มต้นจากการจำลองดังกล่าว เราก็เริ่มที่จะมีสถาปัตยกรรมแบบใหม่ สถาปัตยกรรมที่ไม่เป็นเช่น phallocentric อีกต่อไป เดี๋ยวนี้มันไม่หมายความว่าเราจะถูกพักพิงและบรรจุไว้ หากแต่เป็นถูกบรรจุซึ่งถูกมองเห็น เช่นเป็นกากของกระบวนการ และไม่ใช่เป็นดังอุปมาของกระบวนการ อีกนัยหนึ่งก็คือ กระบวนการจินตภาพและความหมายของมันจะเกิดจากการจัดการด้วยตนเอง ตรงข้ามกับกิจกรรมปิดล้อม ประเด็นนี้จะไม่มีใครกล่าวว่าสถาปัตยกรรมไม่ใช่ที่พักพิง ที่ปิดล้อม ที่บรรจุ ฯลฯ แต่มันจะไม่เป็นอุปมาที่จำเป็นในการจัดการของสิ่งเหล่านี้

ในอีกทัศนะ Vitruvius เริ่มต้นที่ปัญหา เขากล่าวว่าสถาปัตยกรรมเกี่ยวข้องกับสิ่งสามสิ่งคือ ความสะดวกสบาย ความมั่นคง และความพึงพอใจ เมื่อเขาพูดถึงความมั่นคง เขาหมายถึงความคงที่ การปิดล้อม ที่พักพิงในโครงสร้างหนึ่ง มันไม่ได้หมายถึงอาคารต้องตั้งอยู่ เพราะเป็นที่แน่นอนว่าอาคารต้องตั้งอยู่ได้แน่ๆ แต่สิ่งที่ Vitruvius กำลังพูดถึงคือว่า สถาปัตยกรรมต้องเพิ่มเติมการยืนขึ้นราวกับว่ามันทนอยู่อย่างนั้นได้ เพราะฉนั้นอุปมาของโครงสร้างจึงมีอยู่พร้อมในสถาปัตยกรรมเช่นดังธรรมชาติให้ไว้ ที่ผมกำลังแนะนำคือว่า สิ่งที่ Vitruvius ให้ไว้ในกระบวนทัศน์แง่กลไกไม่เป็นที่สนใจกันอีกต่อไปแล้ว ขณะที่อาคารต้องตั้งอยู่ได้ มีคนเพียงสองสามคนที่เอาใจใส่อาคารให้ถูกมองดูเหมือนสามารถตั้งอยู่ได้หรือไม่ แทนที่จะเผชิญกับการต้องการเกี่ยวข้องกับคำถามของอำนาจ ของการจำลอง ของไม่ใช่ต้นแบบ และสุดท้ายยึดถือกระบวนทัศน์แง่กลไกไว้มั่นคง เป็น phallocentrism ของสถาปัตยกรรม ซึ่งทนต่อแรงดึงดูดของโลก และโดยอุปมาคงทนอยู่กับการเป็น phallocentric ตลอดกาล ผมเชื่อว่าเรื่องทั้งหมดนี้ ถูกเตรียมไว้โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับมือของผู้ออกแบบ ไม่เป็นเรื่องที่มีมาแต่เดิม ไม่ใช่ความเป็นไปได้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์จำลองช่องเปิด สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่จะนำไปสู่ขบวนการออกแบบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

Selim Koder (SK): เป็นไปได้ไกลแค่ไหน? ที่เราหวังการใช้ระบบแทนที่ของตัวเลข (digital representation) ในงานสถาปัตยกรรม อะไรคือสิ่งที่เป็นไปได้?

PDE: ผมไม่สามารถที่จะตอบคำถามอะไรที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ผมไม่รู้ เพราะผมไม่ใช่นักอนาคต แต่ผมแน่ใจว่ามีความต้องการที่จะเข้าถึงงานสถาปัตยกรรมในแง่ขบวนการของตัวเลข ซึ่งยังไม่มีการเริ่มต้น ไม่มีความเป็นจริง ยังไม่มีต้นแบบ และไม่มีการเสนอเป็นความคิดล่วงหน้า กล่าวอีกนัยคือ ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไปแล้วที่จะเริ่มกันด้วยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปวงกลม หรือรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส เรื่องราวของการถือเอาระบบเด็ดขาดของ Cartesian เป็นความจริงล่วงหน้าที่ทุ่มให้กับความงามและเทพยดา ไม่มีอีกต่อไปแล้ว และก็ไม่เอาเป็นความจริงและความจำเป็นต่อความงาม หรือเป็นเพียงความจำเป็นเริ่มแรกของความงามก็ตาม ถ้าสิ่งนี้เป็นจริง ดังนั้นสถาปนิกต้องค้นหาแหล่งกำเนิดใหม่ของการสร้างรูปทรง และด้วยความสัมพันธ์ของมือและจิตใจมนุษย์ ก็ไม่สามารถที่จะสร้างสิ่งนี้ขึ้นมาได้ เพราะทั้งหมดนั้นสามารถเขียนขึ้นจากสิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้วซึ่งทำได้ด้วยมือของมนุษย์ ความเป็นไปได้ที่มีอยู่ก่อนนั้น เป็นข้อจำกัดของความรู้และประสบการณ์ แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มีความรู้และประสบการณ์ของจิตภาพที่เคยมี เพื่อให้สิ่งนี้มีผลต่อสถาปัตยกรรม จินตภาพนั้นต้องสามารถสร้างขึ้นและด้วยเงื่อนไขที่เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยเหลือกระบวนการสถาปัตยกรรมได้

เรื่องทำนองนี้ เราต้องมีเครื่องกลที่มีความเร็วกว่า มิฉนั้นจะมีปัญหายุ่งเหยิงสำหรับเรื่องเวลาและการใช้พลังงานของเรา และด้วยเหตุผลทำไมสถาปนิกส่วนมากไม่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในการออกแบบ เพราะมันเป็นกระบวนการที่สิ้นเปลืองเวลามาก และมันเป็นผลเสียที่ทำอาคารชุ่ยๆด้วยคอมพิวเตอร์มากกว่าการทำอาคารชุ่ยๆด้วยมือ ด้วยเหตุนี้เราจึงให้ข้อจำกัดของวิทยการคอมพิวเตอร์ไว้ที่การช่วยเหลือการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์เป็นปัญหาในอนาคต เพราะว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทั้งตัวเครื่องและโปรแกรมสนับสนุนที่เรามี ที่สำนักงานสามารถมีได้ ยังไม่เหมาะสมทางเศรษฐกิจที่จะนำมาใช้ในการทำงาน ถ้าเราจำกัดไว้ที่งานเราทำกันที่ Atlanta (Emory Center for the Arts) ค่าใช้จ่ายที่เราดำเนินการขั้นสูงสุด จะไม่เหมาะสมเลยถ้าเราต้องใช้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งไปเป็นการนำร่อง ดังนั้นเราจึงต้องหาทางผสมผสานกับเครือข่ายสำนักงาน และร่วมเวลากับการใช้คอมพิวเตอร์เหมือนวิธีที่เขาใช้ร่วมกันของมหาวิทยาลัย

SK: ในวิธีการคล้ายกันที่เลียนแบบอย่างของ Emory University Computer Center ?

PDE: แต่ก็ยังคงมีค่าใช้จ่ายสูง ผมคิดว่าจนกว่าการก่อสร้างทางอุตสาหกรรมจะตระหนักการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังมีข้อถูกจำกัดเช่นเดียวข้อจำกัดในการใช้ดินสอ จนเมื่อเราสามารถทำให้คอมพิวเตอร์เป็นอิสระจากการนักออกแบบ อิสระจากกระบวนการ อิสระจากการก่อสร้าง มิฉนั้นก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้น เครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันมีข้อจำกัด มันไม่สนองตอบด้านประโยชน์ได้มากนัก

SK: มีสองประเด็นที่ท่านเอ่ยไว้ก่อนหน้านี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ให้คุณภาพที่ล้าหลัง เมื่อการใช้มือโดยตรงของผู้ออกแบบสิ้นสุดลงในการเลือกรูปแบบใด "มันพอเพียงแก่ข้าพเจ้าแล้วหรือยัง? มันบิดเบือนความจริงไหม? นั่นคือคุณภาพที่ล้าหลัง มันเป็นเพราะสาเหตุการออกแบบหรือครับ?

PDE: มันเป็นเพราะธรรมชาติที่ไม่สามารถทำนายสิ่งที่ผลิตได้ เมื่อท่านโปรแกรมอะไรที่กำหนดเป็นขั้นๆ เช่นขั้นตอนทางคณิตศาสตร์ ท่านไม่จำเป็นต้องรู้ก่อนล่วงหน้าว่ากรอบเป็นเช่นไร ท่านไม่จำเป็นต้องรู้สิ่งที่เกิดขึ้นก่อน (a priori) อะไรที่อาจเกิดขึ้นได้และกำลังจะเกิดขึ้น และท่านก็ไม่รู้เมื่อท่านเห็นความไม่แน่นอนนั้น ในการจัดการการเปลี่ยนแปลงหน่วยของคณิตศาสตร์ของมันต่อไป หรือโยกย้ายด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง มันไม่สามารถจัดการด้วยความรู้เฉพาะบุคคลอีกต่อไป กล่าวอีกนัยคือ กฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ประกอบด้วยความรู้และประวัติศาสตร์ แต่เราในฐานะบุคคล ไม่สามารถเข้าถึงความรู้และประวัติศาสตร์ของความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้ หรือเพิ่มขึ้นด้วยกฎทางคณิตศาสตร์เหมือนเช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ นี่คือสิ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำให้เราได้

SK: ถ้าเราจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเช่นเครื่องมือ เพื่อการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประเด็นที่สองคือใช้ตามธรรมชาติของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่นที่ Mathematica เราใช้วิเคราะห์คลื่นเรดาห์ ความชื้น เสียง (white noise) ฯลฯ

PDE: ผมกำลังพูดว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีข้อจำกัด เรายังไม่มีโปรแกรมที่สนองสิ่งที่เราต้องทำในงานสถาปัตยกรรม เรายังไม่มีโปรแกรมที่จำลองช่องเปิด โปรแกรมที่มียังล้าหลังอยู่ เช่น โปรแกรม FORM-Z มีประโยชน์แต่ยังล้าหลังอยู่ดี สิ่งที่เราต้องการคือ ลักษณะโปรแกรมที่สามารถจำลองข้อมูลที่ซับซ้อนทางชีววิทยาและฟิสิกส์ที่มีใช้ในสถาบันค้นคว้าเหล่านั้น ซึ่งมันสามารถใช้เป็นแบบจำลองในงานสถาปัตยกรรมได้

SK: เอาเป็นว่าถ้ามีเครื่องกลไกดังกล่าว ซึ่งผมคิดว่าบางอันน่าจะเป็นที่ต้องการมาก แล้วราคาของมันก็จะไม่มีผลกระทบอีกต่อไป แต่เพราะอุสาหกรรมของสถาปัตยกรรมยังเข้าไปไม่ถึงมากนัก เหมือนเช่นอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ฯลฯ ท่านคิดอย่างไร? กับการกล่าวเช่นนี้

PDE: ผมจินตนาการเอาว่าสิ่งนี้น่าจะเกิดขึ้นโดยความร่วมมือของสำนักงานสถาปนิก กลุ่มสถาปนิกผ่านทางสมาคม A.1.A ก็สามารถซื้อหาเครื่องคอมพิวเตอร์พิเศษนั้นได้ ผมประมาณเอาว่าทุกสำนักงานสถาปนิกไม่สามารถมีเครื่องเช่นนี้ได้ตามลำพัง แต่สิ่งนี้ยังไงก็ต้องเกิดขึ้น เพราะอาชีพทางวิศวกรรมเครื่องกลนั้นไม่เคยเปลี่ยนแปลง เพราะว่ามันไม่ใช่อาชีพที่มีช่องว่างสำหรับการทดลอง เราทดลองเพื่อความเสียหายของเรา ไม่มีใครจ่ายเงินให้เราทำเช่นนั้น ตราบใดที่ไม่มีใครจ่ายเงินให้ใคร เราก็สูญเสียเงิน สถาบัน Silicon Graphics ไม่สนใจที่จะนำสถาปนิกชั้นนำทั้งห้า (กลุ่มห้าสถาปนิก..ที่ Eisenman เป็นหนึ่งในกลุ่ม) ไปร่วมในการทดลองเรื่องนี้ เพราะเขาไม่ได้มองการตลาดในเรื่องนี้ เขาไม่ต้องการมองการตลาดทางด้านงานสถาปัตยกรรมที่จะเกิดขึ้นในอีก ๒๐ปีต่อไป

ผมคิดว่าตลาดทางสถาปัตยกรรมจะกลายเป็นตลาดที่ใหญ่มาก เมื่อท่านเริ่มใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ท่านเริ่มตระหนักความเป็นไปได้ที่จะผลิตผลงานที่พิเศษ ผมคิดว่าอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์กำลังเคลื่อนเข้าไปในโรงเรียน แต่ยังไม่ได้นำประสิทธิภาพการค้นคว้าที่คล้ายกันนี้เพื่อเพิ่มต่อสายตรงไปยังสำนักงานเพื่อสามารถใช้สิ่งนี้ได้

SK: มีสองโครงการที่ผมพูดถึงใน Wiesbaden, คือโครงการ the Emory project และ Haus lmmendorff. ผมคิดว่าเป็นตัวแทนความสนใจในวิธีการออกแบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของโครงการ Emory คือการใช้เส้นสายที่กลมกลืนกัน และแนวคิดที่ก้าวหน้าในการวางระบการรวมศูนย์ที่ใช้ในโครงการ Haus Immendorff.

PDE: โครงการทั้งสองมีความแตกต่างกัน โครงการ Emory เป็นการนำเอารูปทรงทางเรขาคณิตที่สม่ำเสมอแล้วหันกลับเป็นการใช้ความกลมกลืนกัน ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นผิวพื้นทางภูมิศาสตร์ (topological surfaces) ทางสัญจรในโครงการ เกี่ยวข้องกับทัศนคติใหม่ของโครงร่างรอบนอก การใช้ solitan wave (สถานะภาพอิสระ..solitary ตามลำพัง ไม่มีการพึ่งพาใดๆ) แทนรูปทรงที่สามารถเข้าใจโครงรอบนอกที่รู้สึกเคลื่อนไหวได้ในมุมมองต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น เป็นการบิดตัว จากส่วนตัดทีแปรสภาพด้วยตัวเองขณะที่เคลื่อนขึ้นด้านบนด้วยตัวเองด้วย ดังนั้นส่วนทึบกลับกลายเป็นช่องเปิด และเปลี่ยนกลับช่องเปิดเป็นส่วนทึบ

อีกโครงการคือ ศูนย์ศิลปะเพื่อการท่องเที่ยวในประเทศฝรั่งเศษ เกี่ยวข้องกับคำถามของซุ้มหน้า เราใช้สถาปัตยกรรมในเงื่อนไขจารีตนิยม โครงรอบนอก ซุ้มหน้า ภาพตัด และการมองในวิธีที่ต่างกัน สถาปัตยกรรมทันสมัยลืมความคิดเรื่องเหล่านี้ โดยไม่เป็นการหวลกลับไปที่ลัทธิแสดงออกทางอารมณ์ส่วนบุคคล หรือศิลปะสะท้อนอารมณ์ชนิดใดๆนั้น ยังเป็นไปได้ที่จะศึกษาเรื่องเหล่านี้ งานที่แตกต่างลักษณะการสะท้อนอารมณ์เดิม (expressionism) มักสร้างองค์ประกอบจากภายนอกทั้งนั้น แต่ในงานนี้สร้างการสะท้อนทางอารมณ์จากภายในด้วยวัสดุ หรือขบวนการที่เป็นไปได้ในการเลือกใช้วัสดุ แต่ไม่ใช่เกิดขึ้นภายนอกตามที่นิยมทำกันในสถาปัตยกรรมแบบเดิมๆ

SK: การแปรเปลี่ยนการเขียน (เขียนแบบในทำนองเช่นการเขียนหนังสือ) ไปที่การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เกิดขึ้นเป็นเรื่องรองในความสัมพันธ์ของงานสถาปัตยกรรมหรือ?

PDE: บอกผมซิอะไรที่ท่านหมายถึงความสัมพันธ์เป็นเรื่องรอง?

SK: ขณะที่ความสัมพันธ์ชั้นต้นระหว่างด้านรูปทรงและจินตภาพของความคิด ความสัมพันธ์รองคือระหว่างจินตภาพของความคิดและต้นฉบับ

PDE: ความสัมพันธ์เบื้องต้นสำหรับสถาปัตยกรรม บ่อยครั้งที่จะเป็นความสัมพันธ์ด้านรูปทรงและจินตภาพของความคิด คือเมื่อท่านได้ความคิดท่านจึงได้รูปทรง และแล้วเมื่อรูปทรงนั้นถูกเขียนและแสดงออกในรูปของเรื่องราว (text) เรื่องราวที่เป็นไปได้ในรูปทรง ซึ่งเป็นความสัมพันธ์รอง เป็นการเขียน (หนังสือ) ไม่ใช่การเขียนแบบ

SK: และถ้ามันเป็นการแปรเปลี่ยนรูปไปเป็นการเขียน มันเป็นการแปรเปลี่ยนแบบไหน?

PDE: การแสดงออกทางตัวเลข อาจเป็นการจัดแจงโดยการเขียนแบบ หรือการเขียนหนังสือ ขึ้นอยู่กับท่านจะใช้มันอย่างไร วิธีที่เราใช้มันเป็นการจัดแจงของการเขียนหนังสือที่ตรงข้ามกับการเขียนแบบ แต่มันอาจมีผลเท่ากัน เมื่อสิ่งหนึ่งเกี่ยวข้องจากตัวกลางหนึ่งไปสู่ตัวต่อไป สิ่งนั้นไม่ใช่การเขียนหนังสือ การเขียนหนังสือเป็นการกลับไปที่จินตภาพทางความคิด หรืออีกนัย มันเป็นการเชื่อมโยงกลับไปที่จินตภาพของความคิด การเขียนแบบทั้งหมดไม่ใช่จินตภาพของความคิด การเขียนหนังสือทุกชนิดไม่ใช่จินตภาพของความคิดเสมอไป แต่การเขียนหนังสือที่ผมกำลังพูดถึง มันแตกต่างจากการเขียนแบบ

SK: ดังนั้นเราสามารถพูดได้ไหมว่า การดำเนินการนี้เกิดขึ้นเพราะเครื่องมือที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรมไม่พอเพียง?

PDE: นี่เป็นเรื่องที่กำลังเกิดขึ้น มันเกิดขึ้นแล้ว ตั้งแต่เดิมนั้นด้านการก่อรูปและด้านเครื่องมือเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด มันเป็นการยากที่จะแนะนำว่าอะไรที่เรากำลังอ่านนั้นเป็นต้นฉบับ แม้เรากำลังอ่านด้วยเครื่องมือ เพื่อที่จะอ่านข้อเขียนหนึ่ง เราต้องลดทอนความใกล้ชิดระหว่างด้านรูปทรงหรือภาพวาดและด้านเครื่องมือ แล้วจึงเริ่มอ่านภาพวาดไม่ใช่ด้วยเครื่องมือแต่ด้วยการเขียนหนังสือในตัวของมันเอง

SK: ด้วย ดรรชนี?

PDE: ใช่ บางที แต่ดรรชนีในทางสถาปัตยกรรมมักเป็นเรื่องรอง เพราะว่ากำแพงนั้นจะไม่เป็นสิ่งอื่นไปกว่าเรื่องหลัก

SK: ท่านหมายถึง มันต้องคงอยู่ เช่นสิ่งที่เหลือเฟือ?

PDE: ใช่.

เรียนการออกแบบโดยการฝึกเขียน

เรียบเรียงจาก....http://mwp01.mwp.hawaii.edu/arch200.htm
200-LEVEL ARCHITECTURE, INTERMEDIATE ARCHITECTURAL DESIGN (writing-intensive) Drawing as Writing, Writing as Drawing: An Approach to Architectural Design Thinking

สถาปนิกทุกคน ออกแบบอาคารต่างๆ ในความเห็นของข้าพเจ้า สถาปนิกต้องการทราบว่าเขาออกแบบอย่างไร และมีวิธีการเช่นไร วิธีการออกแบบ คือฐานของกระบวนการอิสระของสถาปนิกแต่ละคน แต่ละกระบวนการคิด สามารถพัฒนาในเชิงการศึกษาและ การปฏิบัติทางวิชาชีพได้ ข้าพเจ้าไม่ได้สอนนักศึกษาว่าควรจะคิดอย่างไร แต่หากต้องการทราบว่าเขานำความคิดไปใช้ประโยชน์อย่างไร การเขียน เป็นการนำความคิดไปใช้ทางหนึ่ง การเรียนการสอนนี้ นำเสนอความคิดเห็นวิชาสถาปัตยกรรมสองแนวทางสำคัญ คือ ทางภาษาพูดผ่านทางคำพูด และ ทางทัศนะวิสัยผ่านทางแบบ หุ่นจำลอง การเขียนแบบ และการเขียนอธิบายด้วยภาษาเขียน
................โดย รองศาสตราจารย์ Gordon Tyau

เป็าหมายของวิชา

ทุกโครงการที่ออกแบบหลากหลาย นิสิตเรียนรู้การนำทฤษฎีและหลักการ ออกแบบในความสัมพันธ์ระหว่างอาคารกับสภาพแวดล้อมภายนอกไปใช้ ความเข้าใจเรื่องสภาพดินฟ้าอากาศ ลักษณะสถานที่ก่อสร้าง และ พฤติกรรมมนุษย์ จะช่วยให้นิสิตนำไปประมวณและส่งผลให้การออกแบบสถาปัตยกรรมที่ดีได้ แต่ละขั้นตอนของการเรียนรู้การออกแบบของ แต่ละโครงการ เป็นการนำความคิดไปใช้ในกระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรม การเขียน ถูกใช้เป็นวิธีการหนึ่งของการนำความคิดไปประยุกต์ใช้ทางศาสตร์ของการออกแบบ

ถ้ายอมรับว่าการเขียนบันทึก คือการสะท้อนการคิดทางหนึ่ง การเขียนแบบ การเสก็ต และการขีดเขียนอย่างเคร่าๆ ก็น่าจะเป็นการสะท้อนความคิดอีกทางหนึ่งด้วย โดยเฉพาะการออกแบบของนิสิตแต่ละคนด้วย

กิจกรรมการเขียน

๑. ความคิดเกี่ยวกับการออกแบบ

วันแรกของชั้นเรียน อาจารย์ให้นิสิตทุกคนเขียนเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบของแต่ละคน เป็นอย่างไร เน้นที่การเขียน อันเกิดจากความรู้ความเข้าใจที่แต่ละคนได้รับจากวิชาก่อนๆในอดีต

ความมุ่งหมายการเขียนนี้ ไม่เคร่งครัดนัก เป็นการเขียนง่ายๆ เพื่อทราบขอบเขตของความรู้ ที่นิสิตเกี่ยวข้องกับวิชาเรียนนี้ การเขียนทำให้ทราบโดยสังขปว่านิสิตคิดอย่างไร เป็นข้อมูลสำหรับอาจารย์ เพื่อการเริ่มต้นการสอน การเขียนแบบ จากประสบการณ์ และความรู้ที่นิสิตมีมาแต่เดิม การกำหนดกิจกรรมแรกของการเรียนนี้ ทำให้อาจารย์ได้รับรู้ความสำคัญของการเขียน สะท้อนการคิดและการเรียนรู้ของนิสิตแต่ละคนได้

อาจารย์ Gordon มีวิธีการสอนที่แปลก เขาต้องการ ให้นิสิตอาศัยสิ่งที่เห็น อาศัยสามัญสำนึกของตนเอง ต้งอการให้นิสิตคิดอยู่ตลอดเวลา บางครั้งทำให้คิดว่า นี่เป็นวิธีการเน้นการคิดในชั้นเรียน ทำให้เราได้เรียนรู้สิ่งใหม่มากมายที่ไม่เคยได้รับมก่อน......... จากความเห็นของนิสิตคนหนึ่ง

๒. ขั้นตอนหนึ่งสำหรับกระบวนการออกแบบ โดยการใช้วิธีเขียนหรือ/และเขียนแบบจากสิ่งพิมพ์

โครงการออกแบบเพิงพักอาศัย ประกอบด้วยข้อกำหนดต่างๆ เป็นการนำไปสู่ การออกแบบปกติของแต่ละเรื่อง ประมวณเข้าด้วยกันโดยนิสิตแต่ละคนอย่างอิสระเสรี และประเมินคุณค่าการออกแบบตลอดช่วงเวลา ๒๔ ชั่วโมง นับจากการเริ่มต้นของวิชานี้ การเขียนและสเก็ตในรูปแบบบทความ ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการออกแบบ โครงการขึ้นอยู่กับการรวมประสานความพยายามต่างๆเข้าด้วยกัน เน้นกระบวนการออกแบบเป็นสำคัญ นิสิตแต่ละคนเตรียมแผ่นข้อมูลจำนวนสามแผ่น ซึ่งประกอบด้วย การเขียนเชิงวิเคราะห์ การเขียนแบบผังแม่บทของโครงการ และการผสมผสาน ตัวอาคารเพิงพักอาศัย (รวมทั้งแบบหุ่นจำลอง) รวมทั้งการประเมินคุณค่าของการออกแบบและการใช้สอยอาคารด้วย

ข้าพเจ้าคิดว่าโครงการออกแบบนี้ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสิ่งหนึ่งในการเรียนรู้ของข้าพเจ้า เป็นโครงการแบบแรกที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรื่งที่ตั้ง ของอาคาร ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมภายนอก และท้าทายการออกแบบที่จะเกิดขึ้นอย่างแท้จริง เป็นการเรียนที่สนุก เราทั้งหมด ได้เห็นคุณค่าของกระบวนการปรึกษาและถกเถียงกันในกลุ่ม นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงๆต่อไป............ จากทัศนะของนิสิตผู้หนึ่ง

จุดมุ่งหมาย

ทั้งหมดของโครงการออกแบบนี้ ให้โอกาศนิสิตทุกคนได้เรียนรู้กับส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดของการออกแบบ สถาปัตยกรรม และผลลัพท์ของการคิดด้วยตลอดช่วงเวลาการศึกษา โครงการออกแบบเพิงพักอาศัยนี้ นิสิตทุกคนจะเกี่ยวข้องกับการคิด การเขียน ภาษา การเขียนแบบ และการพูดเกี่ยวกับขบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมของแต่ละคน


ก. การรวบรวมข้อมูลสถานที่ตั้ง
นิสิตทุกคนต้องหาข้อมูลของสถานที่ตั้งโครงการก่อนที่จะเริ่มออกแบบ อาคาร แสดงไว้ในสมุดบันทึกของแต่ละคน มีข้อเขียนและการร่างภาพ กำหนดไว้สามกรณีที่มีผลต่อการออกแบบสถาปัตยกรรม คือ ๑. กิจกรรม อะไรที่ต้องรวมไว้ ๒. ใครคือผู้ออกแบบ และ ๓. การออกแบบเกิดขึนที่ไหน ผู้สอนเน้นประเด็นสำคัญที่มีผลกระทบโดยตรง คือ กิจกรรมผู้ออกแบบและสถานที่ตั้ง หรืออีกนัยหนึ่งคือ สถานที่ตั้งและความเข้าใจของผู้ออกแบบที่เกี่ยวกับสถานที่ตั้งและกิจกรรมต่างๆ

ข้าพเจ้ามีอาจารย์ที่ดีหลายคน กล่าวว่าการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือ การฟัง ดู แล้วเขียนลงเป็นบันทึกไว้ การเขียน เป็นการทำให้ หู ตา และมือ ทำงานร่วมกัน พยายามใช้ความรู้สึกหลายอย่าง ช่วยให้ผู้เรียน สามารถจดจำการเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ดี นี่คือสิ่งที่อาจารย์ Tyau และอาจารย์คนอื่นๆกล่าวและกำลังกระทำอยู่ขณะนี้................. จากความเห็นของนิสิตผู้หนึ่ง

การดำเนินการขั้นต่อไป คือ การเขียนแบบรายละเอียดของสภาพที่ตั้ง และทำหุ่นจำลองของนิสิตเป็นกลุ่ม แบ่งงานเป็นการสำรวจ การบันทึก และการวัดระยะรวมกัน เขาจะทำการสำรวจและวิเคราะห์ลักษณะที่เป็นอยู่ของที่ตั้ง ด้วยการใช้เครื่องมือสำรวจ เมื่อกลับมาที่ ห้องปฏิบัติการการออกแบบ นิสิตจะเขียนแบบแผนที่รายละเอียดของที่ตั้ง แสดงระดับต่างๆ ของที่ดิน ทำหุ่นจำลองที่ตั้งเพื่อเป็นฐานข้อมูลใช้ร่วมกันในชั้นเรียนต่อไป ด้วยการใช้ฐานข้อมูลนี้ บันทึกของแต่ละคน รวมกับการสนทนากับผู้สอน ในเรื่องการวางผังอาคาร จุดมุ่งหมายการออกแบบจากประโยชน์ของแผนที่และหุ่นจำลองของที่ตั้ง การสนทนานี้ จะรวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลที่นิสิตทุกคนบันทึกที่เกี่ยวข้องกับสภาพทางภูมิสถาปัตยกรรมของที่ตั้ง อากาศ สภาพทางภูมิศาสตร์ และความสัมพันธ์ต่อกันด้วย

เมื่อทุกคนกำลังพูดกันในบางสิ่งบางอย่าง มักจะมีบางคนไม่เข้าใจ และการถามแย้งเสมอว่าคุณหมายความสิ่งยั้นอย่างไร ผู้ที่ถูกถามจึงต้องตอบอธิบายโดยการเขียนภาพประกอบ พวกเราจะเขียนในทำนองเดียวกัน เพื่ออธิบายความคิดลงบนแผนที่ขณะที่เรานั่งสนทนาร่วมกัน ............ จากความเห็นของนิสิตผู้หนึ่ง

จุดมุ่งหมายการเขียน..ด้วยการบันทึกข้อความและการร่างภาพประกอบ ถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการคิด ก่อนการออกแบบ โดยการเขียนลักษณะนี้ นิสิตทุกคนจะบันทึกความประทับใจในทันทีทันใด จากการสังเกตุที่ตั้ง และความสัมพันธ์ที่มีต่อปัจจัยอื่น เช่นสภาพดินฟ้าอากาศ ลักษณะพื้นดิน สภาพภูมิสถาปัตยกรรมโดยรอบ การบันทึกสิ่งสำคัญเหล่านี้จะช่วยเป็นข้อมูล อ้างอิงต่อไปในการผลิตแผนที่ รายละเอียดและหุ่นจำลองของที่ตั้ง เป็นฐานข้อมูลในขั้นตอนการออกแบบต่อไป

Professor Tyau กล่าวว่า เราทุกคนต้องเอาความคิดออกมาจากสมอง ถ่ายลงสู่แขน และปลายสุดที่มือของเรา เพื่อบันทึกมันลงบนแผ่นกระดาษไว้ให้ได้ แม้ว่ามันอาจจะดูไม่เข้าท่าก็ตาม แต่มันทำให้ความคิดที่มีอยู่ในใจของเราไม่เลือนหายไปเลย นี่เป็นการทำงานร่วมกันของความคิดและการเขียน........ จากความเห็นของนิสิตผู้หนึ่ง

การรวบรวมข้อมูล ช่วยสนับสนุนการร่วมมือกัน ตัวอย่างเช่น งานสำรวจสภาพที่ดินที่แท้จริง เกิดจากการสำรวจกันเป็นกลุ่ม การสนทนาในชั้นเรียนถึงการใช้แผนที่และหุ่นจำลองของที่ตั้ง จะเป็นสิ่งผูกพันที่มีความหมายกับนิสิตทุกคน เพราะเขาเหล่านั้น ไปสำรวจและวิเคราะห์ในสถานที่จริงๆมาก่อนหน้าแล้ว


ข. การวางผังและออกแบบอาคารเพิงพักอาศัย
แผ่นแรกของการแสดงงานของนิสิตแต่ละคน เป็นการนำเสนอผังบริเวณอาคาร รายละเอียดประกอบด้วย สภาพพื้นดินเดิมของที่ตั้ง กลุ่มพันธ์ไม้เดิม การกำหนดโซนต่างๆในที่ตั้ง รวมถึงการวิเคราะห์เรื่องมุมมอง สภาพดินฟ้าอากาศ มลภาวะของเสียง เป็นต้น รวมทั้งการจัดพื้นที่ของอาคารโดย สังเขป ในประเด็นความสัมพันธ์ต่อการออกแบบชุมชน ต้องมีข้อเขียนให้ผู้อ่านเข้าใจได้ชัดเจน เมื่อแผ่นแสดงงานของทุกคนเปิดนำเสนอ ก็จะ สนทนาร่วมกันในแต่ละข้อเสนอของงานผังบริเวณของนิสิตแต่ละคน เพื่อตกลงเลือกแบบที่จะใช้เป็นบรรทัดฐาน นำไปสู่การออกแบบในขั้นตอนต่อไป


หนึ่งอาทิตย์ต่อมา นิสิตทุกคนส่งงานขั้นที่สองของการออกแบบ แบบอาคารเป็นหุ่นจำลอง ของรูปทรงโดยรวม พร้อมรายละเอียดของแนวคิดต่างๆ เช่น วัสดุที่ใช้ทั่วไป งบประมาณเคร่าๆ แผนผังอาคาร รูปตัด และการเขียนคำอธิบาย แบบเสนอทั้งหมด การนำเสนอของแต่ละคนเป็นการสนทนาร่วมกันกับผู้สอนและนิสิตร่วมชั้นเรียนทุกคน เปรียบเทียบระหว่างหุ่นจำลองกับแบบ รายละเอียดอื่น ระหว่างนี้ผู้นำเสนอสามารถแก้ไขแผนผังของตนได้พอประมาณ เพื่อให้สอดคล้องกับการวิจารณ์ก่อนนำไปดำเนินการต่อไป คือการซื้อชิ้นส่วนสำเร็จของเพิงที่พักอาศัยนี้

จุดมุ่งหมาย

นิสิตทุกคนเรียนรู้การประมวณข้อมูลทางสภาพที่ดิน ภูมิสถาปัตยกรรม ดินฟ้าอากาศ สภาพทางภูมิศาสตร์ของที่ตั้งเข้าด้วยกัน และนำความเกี่ยวพันธ์เหล่านี้ไปเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางสังคมและชุมชนต่อไป และความสุนทรีย์ในการออกแบบ มีเป้าหมายรวมภาพหุ่นจำลอง ข้อเขียน เพื่อเป็นวิธีการฝึกฝนนิสิตทุกคนนำเสนอทัศนะของข้อมูลที่สมบูรณ์ และชัดเจนต่อลูกค้าต่อไป

ขั้นตอนการวางผัง ของการออกแบบเพิงพักอาศัยชุมชนนี้ เป็นการเรียนรู้ เป็นกลุ่ม กลุ่มนิสิตร่วมกันเลือกสถานที่ตั้งในชุมชนและช่วยกันออกแบบเพิงพักอาศัยของแต่ละคน ผังแม่บทของที่ตั้งเลือกกำนดโดยกลุ่ม เพราะเขาร่วมกันทำการวิเคราะห์ด้วยกัน และมีการปรึกษาส่วนที่มีผลดีกับชุมชนมาแต่แรก


ค. รักษาบทความรายงานต่างๆไว้ระหว่างการออกแบบ"ยังดำรงอยู่"

หลังหนึ่งอาทิตย์ต่อมา เป็นการนำเสนอผลการออกแบบเพิงที่พักอาศัย นิสิตจัดซื้อหาวัสดุ และชิ้นส่วนมากพอที่จะใช้ในการก่อสร้าง นิสิตทุกคนต้องสร้างอาคารของแต่ละคนให้แล้วเสร็จภายในสามชั่วโมงโดยไม่มีการช่วยเหลือจากกลุ่มเพื่อนๆ แต่ละคนต้องอยู่อาศัยใน สิ่งก่อสร้างของตนเป็นเวลา ๒๔ ชั่วโมง

โดยทันที่หลังการก่อสร้างเพิงที่พักนี้แล้วเสร็จ แต่ละคนต้องบันทึกเป็นบทความรายงาน สะท้อนขบวนการที่เกิดขึ้นจริง ในการก่อสร้างกับแผนงานตั้งแต่แรกเริ่ม อะไรคือความแตกต่างระหว่างแผนงานที่กำหนดกับการสร้างจริง อะไรคือความคาดหวังในการออกแบบ จากการกำนดชิ้นส่วนต่างๆ การประกอบชิ้นส่วนในการก่อสร้าง ตลอดจนความสุขสบายที่แต่ละคนใช้สอยตลอดวัน เปรียบเทียบกับข้อมูลของอากาศ ความเปลี่ยนแปลงอื่นๆที่มีผลกระทบต่อความสะดวกสบาย

เราเก็บรักษาบทความรายงานต่างๆไว้ตั้งแต่เป็นนิสิตสถาปัตยกรรมในปีแรก เราได้ความคิดมากมาย เกี่ยวกับการออกแบบ และสิ่งที่พบเห็น แม้ว่ามันอาจเป็นสิ่งโง่เขลาเหมือนใบไม้ร่วงหล่นบนพื้นดิน แต่ก็อาจเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับความคิดในการออกแบบ การรักษาบทความบันทึกรายงานแต่ละอัน ทำให้ท่านได้มีการทบทวนในภายหลัง และนำความคิดบางอย่างมาปรับปรุงใช้ในโปรแกรมอื่นต่อไปได้ ฉันมีบันทึกรายงานชนิดบทความเหล่านี้ถึง ๔ บทความ ส่วนหนึ่งสำหรับสถาปัตยกรรม ส่วนหนึ่งฉันอ่านและคัดลอกไว้พร้อมการเขียนโต้แย้งสิ่งที่ฉันไม่เห็นด้วย อีกส่วนสำหรับสถาปัตยกรรมสำหรับฉันเอง และอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับความนึกคิดของฉัน........ความเห็นของนิสิตผู้หนึ่ง

ระหว่างช่วงเวลา "เปิดเผยผลงาน" นิสิตไปเยี่ยมเยียนในอาคารแต่ละหลัง ผู้เยี่ยมเขียนคำติชมและ ความคิดเห็นไว้ในรายงานของเจ้าของผลงานต่อความสดวกสบายของพื้นที่ว่างใช้สอย ลักษณะของคุณค่าทางสถาปัตยกรรม พร้อมกับการส่งงาน เพิงพักอาศัยนี้ นิสิตเจ้าของผลงานจะอ่านคำวิจารณ์ของผู้อื่นในบันทึกรายงานของเขาด้วย พร้อมกับเขียนบันทึกเพิ่มเติมการวิเคราะห์ ความรู้สึก และประสบการณ์ที่ได้รับ และที่มีตลอดช่วงกลางวันถึงเย็นวันนั้น

จุดมุ่งหมาย

การทำบันทึกรายงาน เป็นเครื่องมือที่มีค่าสำหรับการเรียนรู้และการพัฒนาการของแต่ละบุคคลต่อๆไป นิสิตทุกคนจะถูกรบเร้าให้รายงาน เป็นบันทึกสำหรับการคิด และความคิดเพื่อการปรับปรุงเรื่องเหล่านี้ บันทึกรายงานเสนอข้อเขียนและแบบที่เกี่ยวข้องกับการคิดและความคิด การฝึกหัดการเขียนเกี่ยวกับปฏิกริยาต่อสิงต่างๆ ต่อการสังเกตุเกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างของเพื่อนนิสิตด้วยกัน การเชิญคนในชุมชน มาให้ข้อคิดเห็นต่างๆ เตรียมบันทึกรายงานสำหรับขั้นตอนการออกแบบต่อๆไป...การประเมินผลด้วยตนเอง แม้ว่าไม่เป็นการบังคับ แต่ผู้สอนรบเร้าให้กระทำสม่ำเสมอ อ้างอิงถึงข้อเขียนพร้อมเขียนแบบไว้เป็นบันทึกรายงานตลอด ๔ ปี ของโปรแกรมการศึกษา และ ควรดำเนินต่อไปให้เป็นนิสัย ครูสอนสถาปัตยกรรมหลายคนทำตนเป็นตัวอย่างในการเขียนบทความที่เป็นประโยชน์สำหรับตนเองและผู้อื่น


ง. การประเมินผลโครงการ

เมื่อถึงวันที่นิสิตทุกคนกลับเข้าห้องเรียน หลังจากมีประสบการณ์จริงในค่ายฝึกหัด เขาเริ่มต้น ขบวนการประเมินผลงานของโคงการออกแบบเพิงพักอาศัยนี้ ครูถามนิสิตแต่ละคนและให้ทุกคนอ่านบันทึกรายงานของตนหน้าชั้นเรียน และ เปิดโอกาสให้มีการวิพากวิจารย์โดยผู้ร่วมชั้นเรียนอื่นๆ และอ่านบันทึกเปรียบเทียบของกันและกันด้วย ทั้งหมดร่วมกันทบทวน และปรับปรุง ขั้นตอนต่างในการออกแบบของทุกคน

นิสิตทุกคน จึงต้องเตรียมการนำเสนอครั้งที่สามด้วยแผ่นภาพของบันทึกแสดงข้อเขียนและ แบบประกอบต่างๆในการประเมินผลงานของโครงการออกแบบนี้อีก รวมถึงประสบการณ์ที่ได้รับมา ความคิดที่ปรับปรุงแก้ไข อาจรวม ถึงหากต้องมีการออกแบบโครงการนี้ใหม่อีก แผ่นแสดงการประเมินผลการออกแบบถูกติดแสดงไว้ในชั้นเรียนเพื่อการสนทนาแก่กันแลักันด้วย


ครูขอร้องให้ทุกคนไปเขียนเป็นการบ้าน ประเมินโครงการ และ เสนอสาระสำคัญในฐานะนักเรียนสถาปัตยกรรม แต่ละคนเขียนเกี่ยวกับโครงการนี้ทั้งหมด ต่อไปนี้เป็นรายงานบันทึกหนึ่ง....

ข้าพเจ้ารู้สึกว่า อาคารเพิงพักอาศัยนี้เป็นโครงการออกแบบที่ดีอันหนึ่ง เพราะมันรวมงานระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบ ซึ่งเป็นบางสิ่งที่เราไม่สามารถคาดหวังจะได้ทำเช่นสถาบันอื่นๆ การก่อสร้าง แบบสำเร็จนี้ดูเหมือนจะเป็นก้าวต่อไปในขบวนการออกแบบ เพราะมันรวมกิจกรรมและความคิดหลากหลายเข้าด้วยกันไว้ เป็นสาระสำคัญของการออกแบบ ในสถานการณ์จริงเรื่องราคาและวัสดุ และการตัดสินใจซึ่งเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงเรื่องประสิทธิภาพ ที่สำคัญเป็นการออกแบบที่สามารถสร้าง ได้จริงๆ

ส่วนที่ยากที่สุดของกระบวนการออกแบบ สำหรับข้าพเจ้าแล้ว มันเป็นจุดเปลี่ยนจาก หุ่นจำลองไปสู่การสร้างเท่าขนาดของจริง เป็นการบังคับให้คิดถึงการออกแบบที่ทำได้จริงๆ ด้วยการแก้ปัญหาจริงสมดุลป์กับทางโครงสร้าง ราคาวัสดุ ชนิดของโครงอาคารที่ใช้ และการนำชิ้นส่วนต่างๆมาประกอบเข้าด้วยกัน

ข้าพเจ้าเลือกใช้ท่อพีวีซีเป็นโครง เพราะต้องมีส่วนโค้งในการออกแบบ ข้าพเจ้าต้องดัดโค้ง ตามระยะที่กำหนดไว้ ข้าพเจ้าพบว่ากระทำได้ลำบากในสถานการณ์จริง โดยไม่คิดมาก่อนว่าจะเป็นปัญหาสำหรับท่อพีวีซีที่ต้องดัดโค้ง เพราะคิดว่าน่า จะกระทำได้ง่ายๆ.....จากบันทึกของนิสิตผู้หนึ่ง


การประเมิน ไม่มีเกรดและอ่านโดยผู้สอนเท่านั้น (อย่างไรก็ตาม ในเทอมการศึกษาหน้า นิสิตต้องอ่านการประเมินโครงการในวันแรกของชั้นเรียน หลังการอธิบายโครงการออกแบบเพิงพักอาศัยนี้ อ่านการประเมินการออกแบบ ที่แล้วมาเพื่อปลุกเร้าให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นในวิชานี้ และเป็นการคำนึงล่วงหน้าสำหรับโครงการแรกของภาคการศึกษา)

ความมุ่งหมาย

การขอร้องให้นิสิตทุกคนประเมินผลการเรียนรู้ถือเป็นขั้นตอนปกติในกระบวนการศึกษา การสนทนาการประเมินกระทำเปิดเผย ให้ตระหนักกันโดยทั่วไป เป็นประสบการณ์สำหรับกลุ่มด้วย แต่การเขียนบันทึกรายงาน เน้นที่แต่ละคนได้วิเคราะห์การเรียนรู้ของเขาและเธอ จุดมุ่งหมายอื่นของการประเมินคือการกระตุ้นให้เกิดการปรับปรุงทั้งผู้สอนและผู้เรียนด้วย แผ่นที่นำเสนอไม่เพียงทำให้โอกาสนิสิตทบทวน การออกแบบเคร่าๆเท่านั้น แต่ยังให้โอกาสได้รับการมีส่วนร่วมของครูและกลุ่มนิสิตด้วยกัน ครูยังสมารถใช้บันทึรายงานนี้ปรับปรุงงานสอนได้อย่าง เหมาะสมสำหรับนิสิตใหม่อีกด้วย

คำปรารภของ Professor Gordon Tyau เกี่ยวกับชั้นเรียนของเขา

เป้าหมายของวิชา เพื่อให้นิสิตพัฒนา ปรับปรุงและตระหนักถึงวิธีการออกแบบ ของแต่ละคนอย่างแท้จริง เราเสนอให้ทำแบบฝึกหัดที่มีขั้นตอนต่างๆ หรือเรียกว่าการทำแบบฝึกหัดออกแบบโครงการ โครงการออกแบบ แบ่งเป็นขั้นตอนต่างๆแต่ละขั้นตอน นิสิตมีโอกาสได้เสนอส่วนต่างๆของขบวนการทั้งหมด โดยเมื่อประมวลรวมเข้าด้วยแล้ว ก็จะเป็นวิธีการออกแบบ ของแต่ละคน สถาปนิกแต่ละคนเมื่อได้ออกแบบอาคาร ในความรู้สึกของข้าพเจ้า เขาหรือเธอต้องการเข้าใจว่าตนเองออกแบบเป็นอย่างไร ข้าพเจ้าถือว่าถ้าสถาปนิกแต่ละคน รู้ว่าตัวเองทำมันอย่างไรแล้ว เขาหรือเธอจะทำมันได้ดี มีคุณภาพมากขึ้นเรื่อยๆ นี่เป็นจุดมุ่งหมายของวิชานี้
ทุกวิชาออกแบบปฏิบัติการในมหาวิทยาลัย แตกต่างกันทั้งในวงวิชาชีพ ที่นี่เราสอนนิสิตให้นำข้อมูลมารวมกัน วิธีการออกแบบอยู่บนพื้นฐานความเป็นอิสระของแต่ละคน วิธีการคิดหนึ่งอาจเนำสนอให้ แต่ทุกคนก็สามารถเรียนการปรับแต่งได้ในโรงเรียน ดังนั้นข้าพเจ้าไม่ได้สอนให้แต่ละคนคิดอย่างไร แต่สอนเขาให้นำวิธีคิดของเขาไปใช้ได้อย่างไรเท่านั้น การเขียนเป็นส่วนหนึ่งของการนำความคิด ไปใช้ เราสามารถตอบสนองการออกแบบสถาปัตยกรรมได้หลายทาง อาจกล่าวได้ว่ามือที่เขียนข้อความ และการอธิบายด้วยภาพประกอบ เป็นแนว ทางหนึ่งที่สะท้อนความคิดเรื่องนี้

เพื่อการเข้าใจนิสิต ข้าพเจ้าเคยกำหนดโครงการให้ ทดสอบเขา ถามคำถาม ให้การบรรยาย และในตอนท้ายของภาคการศึกษา ข้าพเจ้าเริ่มเข้าใจเขาเหล่านั้นเล็กน้อย ดังนั้นข้าพเจ้าจึงสามารถช่วยเขาปรับปรุงวิธีการออกแบบของเขาเอง ก่อนที่เขาก็เย้ายไปเรียน ในชั้นต่อไป เดี๋ยวนี้นิสิตของข้าพเจ้าสามารถเขียนบทความสั้นๆในวันแรกของชั้นเรียน ว่าเขาออกแบบอย่างไร ซึ่งนิสิตทั่วไปส่วนมากไม่ทราบว่าเขา ออกแบบอย่างไร บางคนรู้ว่าจะออกแบบอย่างไร แต่ไม่สามารถเขียนลงในแผ่นกระดาษให้ทราบได้ ดังนั้นข้าพเจ้ามักได้ยินการพูดแบบน้ำท่วมทุ่งเสมอๆ หากแต่ด้วยการเขียน เป็นการบังคับให้นิสิตเกิดการคิดถึงกระบวนการออกแบบของเขาได้

ข้าพเจ้าใช้การเขียนช่วยการผ่อนคลายการคิดว่าเขานั้นคิดอย่างไร โดยการพยายามแสดงมันออกมา อีกทางหนึ่ง เน้นโครงสร้างการเรียนรู้การรวบรวมข้อมูลอย่างถูกต้อง กำหนดได้ว่าข้อมูลแบบไหนที่ต้องการโดยการถามด้วยคำถามที่ถูกต้อง หรือไม่ก็โดยการวาง แผนล่วงหน้าว่าควรถามคำถามที่ถูกต้องที่ไหน แล้วข้าพเจ้าพยายามแสดงให้นิสิตทราบการแปลความคิดเป็นภาษาเขียน และการเขียนภาพประกอบอย่างไร ที่ตรงต่อความเป็นจริง โครงการออกแบบเพิงพักอาศัยจึงเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เป็นโอกาสที่นิสิตเอาความคิดมาเขียน วาดภาพ ออกแบบ ดำเนินการก่อสร้าง และกว่านั้นคือการประเมินผลงานจากความเป็นจริง

ข้าพเจ้าให้นิสิตเขียนบันทึกเป็นรายงานการประเมินผล เพื่อพิจารณาว่าจะกำหนดโครงการนี้อีกได้หรือไม่ เขาเหล่านั้น เขียนกันที่บ้าน เพราะเป็นการยากที่จะกระทำในห้องเรียนปฏิบัติการ เนื่องจากนิสิตมักมีสังคมมากในห้องเรียน การกระทำดังนั้นจึงเป็นส่วน หนึ่งของการเรียนรู้นี้
ข้าพเจ้าพบว่านิสิตแสดงแนวคิดการออกแบบในรูปแบบการขีดเขียน มากกว่าการพูดถึงผลสรุปของการออกแบบ เมื่อข้าพเจ้าเขียนอะไรลงบนแผ่นกระดาษ หรืออะไรที่เขาวาดภาพอธิบายสำหรับสำหรับกลุ่ม ทุกคนสามารถทราบได้เลยว่าเราพูดอะไรกันจากภาษาเขียนและภาษาภาพดังนี้

WI-Faculty Info WI-Student Info Writing Placement Exam Research Projects-Publications Manoa Writing Program Home

สีในงานสถาปัตยกรรม

แปลและเรียบเรียงจาก...http://www.plannet.com/features/colorarch.html
สีในงานสถาปัตยกรรม
โดย Anthony Catsimatides
1/4/99

จนกระทั่งเมื่อสองสามปีที่แล้ว สีขาวกลายเป็นความเยือกเย็นที่สวยงาม แน่นอนถ้าท่านอาศัยในเมืองนิวยอร์ค สีดำเป็นสีเดียวให้เลือกในทุกโอกาส สถาปนิกส่วนมากเอาใจใส่เรื่องการใช้สี การเลือกวัสดุ มีโอกาสสำหรับสถาปนิกอย่างเหลือเฟือในการเลือกสีโดยไม่จำเป็นต้องยื่นคอลงไปดูในกระป๋องสีเลย การใช้สีแม้เป็นเรื่องจำเป็น เมื่อวัสดุต่างๆมีสีที่ต้องให้พิจารณา ตัวอย่างเช่น เหล็กและกระจก เป็นวัสดุยอดนิยม เช่นเดียวกับกำแพงหินและก้อนแก้ว เครื่องเรือนไม้มักปล่อยทิ้งไว้เป็นสีผิวเดิมตามธรรมชาติ เพื่อสะท้อนความกลมกลืนแบบชิงเด่นกันกับสีวัสดุอื่นดังกล่าว

เมื่อสีถูกนำมาใช้โดยนักทันสมัย- the Modernists พวกเขามักใช้พวกสีหลักๆ ใช้เพื่อการเน้น สีถูกใช้ด้วยความระมัดระวังสำหรับพวกนักทันสมัย สีตามธรรมชาติของวัสดุต่างๆ มักคงไว้อย่างบริสุทธิ์เพื่อสะท้อนคุณค่าตามธรรมชาติของวัสดุนั้นๆ Frank Lloyd Wright เป็นปรมาจารย์ทางการเลือกใช้วัสดุตามคุณค่าสีของมัน แต่สีมีความสำคัญและมีการนำไปใช้หลายวิธีในของเขตของสถาปัตยกรรม Le Corbusier ชอบสีหลักสีเหลืองที่มีความระยับ หรือสีแดงที่เน้นออกมาจากคอนกรีต และใช้เป็นดังอุบายเสมอตลอดงานอาชีพนี้ของเขา

ในยุดปัจจุบันนี้ Bernard Tschumi ใช้สีหลักเหล่านี้ในแนวทางที่น่าสนใจกว่าการเน้นอย่างเดียว วิธีการใช้ของเขาในโครงการออกแบบสำหรับ Parc De La Villette นอกเมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศษ เคลือบผิวสุดท้ายด้วยสีแดง งานนี้ท้าทายกับความร้อนแรงของแสงอาทิตย์ในกรุงปารีส และแผ่ขยายไปยังความเขียวขจีของทุ่งหญ้าในสวนวิทยาศาสตร์

บางทีสถาปนิกที่ใช้สีได้ดีที่สุดเท่าทีคิดได้ และเป็นวิธีไม่ธรรมดาคือ Michael Graves การก้าวเกินไม่จากจินตภาพในการออกแบบของเขาและเพ่งไปที่สีตามลำพัง ไม่ใช่เรื่องง่ายในการกระทำ และอาจไม่เป็นการฉลาดเลยที่จะทำความเข้าใจงานสถาปัตยกรรมของเขาอย่างนี้ นอกจากความเข้าใจเรื่องการใช้สีอย่างไรสำหรับเขาเท่านั้น แบบแผนเรื่องสีของเขามักทำเพื่อให้ดูดีมีค่ามากขึ้น แม้การออกแบบของเขาในช่วงเวลาของยุคทันสมัย เขาใช้สีหลักๆตามความนิยม ข้าพเจ้าพิศมัยการใช้สีแม้ในงานร่างภาพเขียนของเขา แม้ในกระดาษสีเหลืองที่สถาปนิกทั่วไปใช้ร่างภาพ ซึ่งกลายเป็นสีพื้นรองรับเป็นด้านหลังของภาพที่เกิดขึ้นจากการออกแบบ ราวกับกระดาษที่มีสีเป็นฐานรองรับเหมือนดังที่ศิลปินละเลงน้ำมันลงไปผืนผ้าใบก่อนเขียนภาพ
ข้าพเจ้ามีโอกาสไปชมพิพิธภัณฑ์เล็กๆทางโบราณวัตถุอียิปต์ ในมหาวิทยาลัย - Emory University ที่ออกแบบโดย Michael Graves หลายปีมาแล้ว มีสามเรื่องที่ข้าพเจ้าติดใจในเรื่องการใช้สี คือ ใช้แล้วทำให้เกิดความสงบขึ้นในสถานที่ มีความตรงกันข้ามกันรวมอยู่ด้วย และมันทำให้ห้องต่างๆมีชีวิตชีวาเพราะวิธีการที่สีถูกนำไปใช้ เหล่านี้เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์อย่างมากในการเคลื่อนไหว แม้ว่าที่ว่างสำหรับการแสดงนิทรรศการไม่ใหญ่โตและกว้างขวางมากนัก แต่อำนาจหรือที่ว่างถูกเน้นโดยสีเขียวทึม สีเหลืองงามตามธรรมชาติของไม้ และกระจก ที่ส่องแสงเป็นประกายเช่นตะเกียงที่จุดเกิดแสงสลัวๆ ข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนเป็นการรวมวงมโหรีของแสง

คนอเมริกันส่วนมากชอบห้องสีขาว สีขาวเป็นความเย็นง่ายในการอยู่อาศัย และเพราะมันเป็นกลางที่ทำให้แบบสมัยและรูปร่างของห้องไม่ล้าสมัย Richard Meier ยึดสีขาวเป็นเอกลักษณ์หรือฐานคิดของการใช้สี รูปทางเรขาคณิต ยังมีผลดีกับการใช้สีขาว เพราะมุมและความโค้งเห็นชัดคมเมื่อมีแสงส่องมากระทบ ยิ่งส่งผลเมื่อมีแสงสาดส่อง และด้วยอาศัยวิทยาการการเล่นแสงภายใน มีความเป็นไปได้ในการทดลองเพื่อการลวงตาของที่ว่าง โดยการยึดติดไว้กับสีขาว ข้าพเจ้าพบว่าแม้ในทุกส่วนของยุโรป สีขาวก็เป็นที่โปรดปราณ ด้วยการติดยึดกับอากาศของชาวกรีซ เช่นในเมืองเอเธนส์ ไม่ค่อยมีลมบ่อยนัก ห้องชุดสีขาวจึงช่วยรักษาความเย็นไว้ได้นาน หลายเหตุผลที่ไม่ควรจำกัดใช้สี โดยเพราะปัจจัยทางจิตวิทยาลำพังเดียว ในกรณีบ้านชะโลมด้วยสีขาวหมดบนเกาะของกรีก การแบ่งกั้นเพื่อป้องกันด้านกายภาพเกิดขึ้นระหว่างความร้อนผ่าวของแสงอาทิตย์ภายนอกกับผู้อยู่อาศัยภายใน

เมื่อสีเข้ามามีบทบาทในที่ว่าง ลักษณะของที่ว่างเปลื่ยนไป ผลกระทบทางจิตวิทยาต่อความรู้สึกทางอารมณ์ของบุคคลเกิดขึ้นเป็นสำคัญ เป็นการดีสำหรับสถาปนิกที่จะศึกษาและค้นหาการประยุกต์ใช้สีตามทฤษฎีทางจิตวิทยาในงานออกแบบของเขา ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวล่วงในรายละเอียดเกี่ยวกับอาคารและห้องในเรื่องนี้ แต่ปลอดภัยที่จะตัดสินว่าหลายๆบ้านที่ข้าพเจ้าไปเยี่ยมมา และหลายๆอาคารสำนักงานที่เคยทำงานในเวลาหลายๆปีนั้น สถาปนิกไม่ค่อยแสดงสิ่งบอกเหตุในเรื่องความสำคัญของสีเลย

ในสำนักงานส่วนมากที่ข้าพเจ้าทำงาน แม้เป็นอาคารสร้างและออกแบบใหม่ให้กับลูกค้าพวกบรรษัททั้งหลาย เช่นอาคารใหม่ของ Autodesk's ในเมือง San Rafael, CA, หรือ อาคารใหญ่ Pacific Bell ในเมือง San Ramon, CA, มีบรรยากาศหมองหม่นตลอดเวลา ขาดชีวิตชีวาที่จะกระตุ้นให้อยากทำงานตลอดได้ทั้งวัน ทั้งๆที่มีจำนวนคนทำงานเป็นพันๆในทั้งสองอาคารนี้ คือราวพันคนในตึก Autodek และเกือบเจ็ดพันคนในตึก Pac Bell. แต่นี่ไม่น่าเป็นเหตุผลที่นำมาใช้เป็นข้อโต้แย้งกับข้าพเจ้าในเรื่องแบบแผนการใช้สีโดยเฉพาะการใช้สีภายในอาคารทั้งสองนี้ได้เลย

สีเทา ถูกนำมาใช้เป็นส่วนมาก เพราะเป็นกลางๆดี แต่ด้วยสีเทาอ่อน ท่านสามารถเอาทุกสีเน้นๆมาใช้กับมันได้เลย และน่าจะจบลงที่สร้างผลความพอใจในความสัมพันธ์กันได้ แต่กลับตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง ทุกๆชั้นของอาคารเป็นการใช้สีที่เหมือนๆกันทุกชั้น คือโทนสีเทา หรือสีเบทแบบสุภาพๆ ท่านจะจบลงที่อารมณ์เฟื่อนๆขาดความเร้าใจ บางทีนักจิตวิทยาวิเคราะห์เรื่องนี้แล้ว บางทีอาจค้นพบกระบวนการและเปิดเผยสิ่งสำคัญในการเสริมค่าสภาพแวดล้อมที่หม่นหมองนี้ได้ มิฉะนั้นก็จะเป็นอะไรที่เราจบลงตรงที่การตกแต่งที่ยังเป็นความลับทำนองนี้อีก
บางที่แผนการใช้สีขาวเป็นความนิยม จึงมีการใช้กันทั่วไป ในราวกลางปี 1980's เมื่อข้าพเจ้าทำงานในเมืองนิวยอร์ค เครื่องเรือนสีเทา หรือไม่ก็มีสีแดงหรือสีขาวตัดขอบใช้กันเป็นส่วนมาก เราใช้แผ่นบุฟอร์ไมก้าสีเทามากมาย จนข้าพเจ้าคิดว่านี้เป็นการรักษาให้บริษัทดำเนินการธุระกิจได้ตลอดไปหรือไม่ โชคดีที่แนวทางนี้ผ่านไปแล้ว ผ่านไปสู่โทนสีเทาแบบใหม่ ที่ใช้ได้ดีคือที่ว่างแสดงภาพที่มีผนังสีขาว และพื้นไม้เคลือบเงาสีตามธรรมชาติ ข้าพเจ้ายังคิดว่านี่เป็นวิธีที่มองภาพเขียนได้ดีที่สุด ในพิพิธภัณฑ์ D'Orsay ในนครปารีส Guy Olente ออกแบบที่ว่างอย่างร้อนแรง แต่การใช้สีช่วยให้สงบลงได้ เกือบทุกความรู้สึกของภาพเขียนดินสอช่วยหยุดสายตาในการสังเกตุงานศิลปะอย่างมีระเบียบขึ้น ด้วยพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่เช่นนี้ มันยากที่จะเพ่งไปเจาะจงที่งานศิลปะอย่างเดียว โดยเฉพาะเมื่อท่านต้องท่องเที่ยวไปในเมืองปารีสในเวลาเพียงสองสามวัน และท่านต้องทัศนางานศิลปะด้วยเวลาอันสั้นเท่าที่กระทำได้ นี่ถือเป็นความมีโชคของนักทัศนาจรในสภาวะการณ์เช่นนี้

สี จะมีความสำคัญมากหากอาคารไม่อยู่ภายใต้อาณาเขตที่แน่นอนเดียวกันของโลก ตัวอย่างเช่น ท่านจะไม่ใช้โทนสีเดียวสำหรับภายนอกของอาคารในเมืองนิวยอร์ค เหมือนเช่นที่ใช้ในเมืองซานฟรานซิสโก เหตุผลคือ ท้องฟ้าในเมืองนิวยอร์คส่วนมากเป็นสีเทา และแสงอาทิตย์ไม่จ้าแรงเหมือนในเมืองซานฟรานซิสโก ทางฝั่งด้านตะวันตกของอเมริกา แสงอาทิตย์แรงกว่าและสดใสตลอดวัน จากข้อเท็จจริงนี้ จะเป็นการปลอดภัยที่เลือกใช้สีสด เช่นสีลูกพีช สีแสด หรือสีเขียวของพลอย ทำเกิดผลที่สดใสเป็นเลิศ เมืองนิวยอร์คมีอากาศรุนแรง และอาคารส่วนมากเป็นผนังอิฐ หิน หรือผิวปูนฉาบ เป็นวัสดุถูกเลือกใช้กันเป็นปกติ ในขณะที่สีถูกกำหนดใช้เป็นส่วนมากโดยนักออกแบบ ช่างก่อสร้าง และสถาปนิกที่แทบจะเป็นคนใบ้กันไปหมด ที่มักเลือกการใช้สีแดงหม่นๆ สีเหลืองแบบซีดๆ และสีอื่นๆที่ทำให้ดูเรียบร้อยๆเท่านั้น
การใช้สี เป็นพื้นฐานสำคัญของงานออกแบบสถาปัตยกรรม ขาดการใช้สีนั้นจะเป็นไปไม่ได้เลย ดังนั้นท่านต้องเริ่มลงมือศึกษาการใช้มันอย่างไรดีถ้าท่านตัดสินใจจะเป็นสถาปนิกต่อไปภายหน้า ข้าพเจ้าคิดว่านักออกแบบภายในใช้สีเก่งกว่าสถาปนิก อาจเป็นเพราะเขาได้รับการฝึกสอนอย่างดีจากโรงเรียน แม้นว่าการเป็นนักออกแบบภายในคล้ายกับการจับจ่ายซื้อของตามห้าง ต้องคอยเลือกซื้อของเพื่อการติดตั้งภายในอาคาร นี่ทำให้หมดสงสัยในความจำเป็นของการประสานเรื่องสีเข้าด้วยกันของ เก้าอี้ โต๊ะ พรม ผ้าม่าน กระเบื้อง และอื่นๆ ถ้าสถาปนิกได้รับการฝึกฝนเบื้องต้นในเรื่องการออกแบบภายใน บางทีเขาจะเอาใจใส่เรื่องการใช้สีกับอาคารทั้งภายนอกและภายในมากขึ้น มันเป็นเรื่องที่นิยมกันในการออกแบบผิวเปลือกนอกของอาคาร โดยไม่ค่อยคำนึงถึงสีภายใน นี่อาจถูกต้องสำหรับอาคารร้านค้าหรืออาคารสำหรับที่อยู่อาศัย แต่มันมีข้อยกเว้นในเรื่องนี้ และมักถือเป็นการแยกแยะกันทางความคิดฝันบนความเสี่ยงของการปฏิบัติตามอย่างที่เป็นปกติธรรมดาทั่วไป

ดังนั้นครั้งต่อไป ท่านควรคิดถึงเรื่องการเลือกใช้โทนสีสำหรับอาคาร โดยการพิจารณาในทางปฏิบัติที่ไม่เป็นเพียงแค่ภาพถ่ายที่หวังให้มีการปรากฏในสิ่งพิมพ์ที่แพร่หลาย แต่ควรคำนึงเพื่อผลเป็นสวัสดิการในระยะยาวที่ควรมีให้กับผู้เกี่ยวข้องในที่ว่างของแต่ละคนด้วย

สถาปัตยกรรมแห่งตราประทับ

แปลและเรียบเรียงจาก...http://www.plannet.com/features/branding.html
สถาปัตยกรรมแห่งตราประทับหรือยี่ห้อ

พิจารณาการออกแบบเพื่อการตลาด

โดย Anthony Catsimatides วันเผยแพร่: December 9, 2000


ในตลาดการค้าทุกวันนี้ ตราประทับหรือยี่ห้อไม่ว่าของปัจเจกชนหรือบรรษัท เป็นเรื่องสำคัญซึ่งผู้ออกแบบมักนำมาเป็นประเด็นแรกๆของความคิดในการออกแบบ สำนักงานใหญ่ของบรรษัทใหญ่ๆทั้งหลาย สร้างขึ้นเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของบรรษัทตนเองอย่างมีอิสระเสรีและเป็นปกติ แบบสมัยสากล-The International style ซึ่งเป็นสิ่งที่พยายามสร้างให้เกิดในสถาปัตยกรรมยุคทันสมัย เป็นการลบล้างความเป็นส่วนตัวและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเฉพาะของตนออกไปจากสถาปัตยกรรม โดยการแทนที่ตราประทับเดียวหรือเอกลัษณ์เดียวให้เป็นเยี่ยงมาตรฐานสากลสำหรับทั้งหมด


ตราประทับ ถือเป็นส่วนแท้จริงหนึ่งของเอกลัษณ์ทางวัฒนธรรมและการตระหนักถึงคุณค่าของข้อมูลที่มีมาประดังอย่างมากมาย แต่ละบรรษัทต่อสู้เพื่อสอดแทรกความมีตัวตนที่เด่นชัดของเขาไว้ในตลาดการค้า การจดสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าถือเป็นการยืนยันในความสำเร็จอันนี้ ถ้าไม่มีเครื่องมือสำหรับเรื่องดังกล่าวนี้ บริษัทที่รุ่งเรืองทั้งหลายจะไม่มีพลังเพียงพอที่จะสร้างปรากฏการณ์ที่เป็นจริงทางพฤตินัยได้เลย และสิ่งนี้ก็เป็นเช่นเดียวกันสำหรับปัจเจกชนด้วย ปราศจากความมีตัวตน (หรือมีชื่อเฉพาะ) ศิลปิน นักปรัชญา กวี นักวิทยาศาสตร์ และนักคิดที่ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย ก็จะไม่มีใครรู้จักหรือรำลึกถึงได้ การออกแบบตราประทับของ Paul Rand ตั้งแต่ช่วงกลางของศตวรรษที่ ๒๐ ให้กับบริษัทต่างๆ เช่น IBM, UPS และABC เป็นแบบอย่างของการประทับตราเป็นเอกลักษณ์ของบริษัทเหล่านี้ไว้ในตลาดการค้าที่สำคัญ การระลึกถึงตราประทับ จนกลายเป็นแนวคิดหนึ่งที่มีประจำเป็นปกติธรรมดาในครอบครัว โดยเราหวังความสำเร็จและมั่นคงของบริษัทไปในความสัมพันธ์กันกับตราประทับของเขาเป็นพิเศษ
แม้การสร้างตราประทับให้เป็นเอกลัษณ์ในงานสถาปัตยกรรม ชี้วัดความสำเร็จไม่ได้เสมอไป แต่ทว่าตราประทับก็เป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบที่มากกว่าผลของการสัมพันธ์กับบริษัทหรือเอกลักษณ์ ไม่มีบรรษัทใหญ่ไหนที่จะประสบความสำเร็จได้โดยปราศจากการกำหนดคุณค่าทางสาธารณะอันแรกให้คงไว้ได้ก่อน สถาปัตยกรรมมีบทบาทไม่น้อยเลยสำหรับเรื่องนี้ ถือเป็นเรื่องปกติที่ทุกๆนักบริหารระดับสูงมักคำนึงถึงเรื่องตราประทับพอๆกับเรื่องเศรษฐกิจสำหรับอาคาร และมุ่งค้นหาภาพลักษณ์อันหนึ่งอันใดที่จะคงอยู่ร่วมเป็นสิ่งเดียวกันกับบริษัทของพวกเขา


มีบ่อยครั้งที่ตราประทับปรากฏให้เห็นเป็นเสมือนแบบสมัยที่เลอเลิศสำหรับสถาปนิก ทำให้นึกถึงงานออกแบบของ Frank O. Gehry หรือ Frank Lloyd Wright ทั้งคู่พัฒนาแบบสมัยที่โดเด่นของตน อันถือเป็นคุณลักษณะเฉพาะตนในงานของพวกเขา เหมือนภาพวาดหนึ่งของ Michaelangelo หรือ Leonardo da Vinci เราระลึกถึงแบบสมัยหนึ่งๆที่มีส่วนร่วมกันอย่างอิสระ บางทีการได้มาของตราประทับนี้ เกิดขึ้นจากเหตุผลที่มาจากญาณทัศนะภายในจิตของสถาปนิก เป็นการปรากฏในความสัมพันธ์ของรูปทรงอย่างเป็นอิสระและโดดเด่นออกมานั้นเป็นผลที่มีอยู่จริงได้


McDonalds อาจเป็นคนแรกที่ตระหนักว่า ตราประทับทางการค้านั้นไม่เพียงพอ อาคารที่สะท้อนตราประทับหรือยี่ห้ออย่างเป็นระบบการเชื่อมต่อของชิ้นส่วนและความเหมาะสมทางเศรษฐกิจนั้น จะกลายเป็นแบบแห่งความทรงจำสำหรับลูกค้าด้วย และแล้วโค้งสีเหลืองของ The McDonald กลายเป็นสัญญลักษณ์แห่งความทรงจำของเครือข่ายร้านอาหารจานด่วนเรื่อยมา ไม่เพียงแต่ในอเมริกาเท่านั้น หากแต่เกิดปรากฏขึ้นทั่วโลก ปัจจุบันเครือข่ายร้านอาหารแบบจานด่วนเป็นพันๆ นำเอาตราประทับมาเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมไปด้วย เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเสนอภาพลักษณ์ในสื่ออื่นๆ

ยังมีตัวอย่างอีกเป็นพันๆ ที่สร้างสถาปัตยกรรมเป็นเช่นตราประทับหรือยี่ห้อที่ทรงอำนาจในการจดจำอันถือเป็นเอกลักษณ์ เครือข่ายร้านอาหารจานด่วนเช่น Kentucky Fried Chicken, Taco Bell และ McDonalds นับเป็นพวกที่โดดเด่นที่ดังและสังเกตุได้ชัดเจน ตัวอย่างอื่นยังรวมไปถึงพวกเครือข่ายร้านค้าปลีก (โชห่วย) เช่น Safeway พวกเครือข่ายภัตตาคาร พวกร้านเสื้อผ้า และศูนย์ร้านค้าคอมพิวเตอร์ปลอดภาษี เกิดขึ้นทุกซอกทุกมุมของตลาดการค้าทั่วไป เราอาจระลึกถึงบริการของ UPS เมื่อมองเห็นรถบรรทุกที่มีแถบสีน้ำตาลและแถบสีเหลืองบนตู้พ่วง ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น โดยที่เราไปมีส่วนรับรู้ในภาพลักษณ์เหล่านี้จนกลายเป็นนิสัยของเรา

ตราประทับหรือยี่ห้อของบรรษัทต่างๆ กลายเป็นเครื่องมือแห่งความสำเร็จที่สำคัญที่ไปพร้อมพัฒนาการของบริษัท สถาปัตยกรรมเป็นกุญแจดอกหนึ่งในความสำเร็จของพวกเขาเหล่านั้น คราวหน้าถ้าท่านเผอิญผ่านร้าน McDonalds โปรดบันทึกโค้งอันทรงอำนาจนี้ไว้ด้วย